วันที่ 20 มิถุนายน 2565 เวลา 13.00 น. นายแพทย์ธวัชชัย ปานทอง ผู้อำนวยการโรงพยาบาลพะเยา เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการ บริหารครั้งที่ 6/2565 ก่อนเข้าวาระการประชุม มีการไหว้พระสวดมนต์ และประธานแจ้งที่ประชุมรับทราบ ได้แก่
1. การใช้สารสกัดกัญชาทางการแพทย์
กระทรวงสาธารณสุขมีนโยบายปลดล็อคกัญชาเสรี แต่มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้ทางการแพทย์เท่านั้น ยังมิได้อนุญาตให้ใช้เพื่อการสันทนาการแต่อย่างใด หลังจากมีการอนุญาตให้ใช้กัญชาเพื่อสุขภาพได้นั้น พบว่ากัญชาอาจส่งผลข้างเคียงต่อเด็ก เยาวชน และสตรีตั้งครรภ์ ดังนั้นจึงเห็นควรแจ้งให้ทุกร้านค้าสวัสดิการในโรงพยาบาลพะเยาขึ้นป้ายร้านปลอดกัญชา เพื่อเป็นทางเลือกให้กับประชาชน ทั้งนี้หากพบผู้ป่วยที่มีอาการที่สาเหตุมาจากกัญชาให้ซักประวัติให้ละเอียด อาจให้ทานขนมหวานหรือน้ำหวานเพื่อช่วยบรรเทาอาการเบื้องต้น และร่วมกันประชาสัมพันธ์ให้กับประชาชนให้เกิดความรู้ความเข้าใจในการใช้กัญชาให้มากยิ่งขึ้น
2. การบริหารจัดการเกี่ยวกับสถานการณ์การแพร่เชื้อไวรัสโควิด 19
รณรงค์ฉีดวัคซีนป้องกันไวรัสโควิดเข็มที่ 3 แม้ว่าสถานการณ์การแพร่เชื้อไวรัสโควิดจะผ่อนคลายลงมากแล้ว แต่กระทรวงสาธารณสุขยังคงมีนโยบายฉีดวัคซีนป้องกันไวรัสโควิดเข็มที่ 3ให้กับประชาชน โดยตั้งเป้าหมายไว้ที่ร้อยละ 60 ของจำนวนประชากร ดังนั้นจึงมอบหมายให้กลุ่มภารกิจด้านบริการปฐมภูมิช่วยรณรงค์ให้กับประชาชนในพื้นที่ชุมชนที่รับผิดชอบ และมอบหมายให้บุคลากรทางการแพทย์ในโรงพยาบาลพะเยาประชาสัมพันธ์เชิญชวนผู้มารับบริการทุกกลุ่มวัยให้รับวัคซีนป้องกันโควิดเข็มที่ 3 ให้ได้ตามเป้าหมาย
3. การป้องกันโรคไข้เลือดออก จากการประเมินสถานการณ์โรคไข้เลือดออกประจำปีพบว่า อาจมีการระบาดหนัก หลังจากพบผู้ป่วยไข้เลือดออกรายแรก ประจำปีพ.ศ. 2565 เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2565 มู่ที่ 8 ตำบลจำป่าหวาย อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา ดังนั้นจึงมอบหมายภารกิจด้านบริการปฐมภูมิดำเนินการรณรงค์ป้องกัน และมอบหมายรองผู้อำนวยการฝ่ายบริหารดำเนินการวางแผนฉีดพ่นยากันยุงภายในบริเวณโรงพยาบาลพะเยารวมถึงบริเวณบ้านพักเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลพะเยาด้
4.กำหนดตรวจราชการและนิเทศงานกรณีปกติ รอบที่ ๒
สำนักงานเขตสุขภาพที่ 1 ได้กำหนดการตรวจราชการและนิเทศงานกรณีปกติ กระทรวงสาธารณสุข เขตสุขภาพที่ 1 รอบที่ 2 ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565จังหวัดพะเยา ในวันที่ 28 -1 กรกฏาคม 2565 จึงแจ้งผู้ที่เกี่ยวข้องเตรียมข้อมูลเกี่ยวกับงบประมาณต่างๆให้ถูกต้องเรียบร้อย
5. การให้บริการรักษาผู้ป่วยวิกฤต กรณีติดเชื้อไวรัสโควิด 19
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพะเยามีนโยบายให้บริการรักษาผู้ป่วยวิกฤต (Emergency) ที่ติดเชื้อไวรัสโควิด19 โดยมีแนวทางให้ซักประวัติผู้ป่วยโดยละเอียด หากผู้ป่วยติดเชื้อได้รับการประเมินว่าเป็นผู้ป่วยวิกฤตให้ดำเนินการรักษาอย่างเร่งด่วน ทั้งนี้มอบหมายให้กลุ่มงานวิสัญญีทบทวนแยกประเภทผู้ป่วยที่ต้องรักษาแบบไม่เร่งด่วน (Elective case) ซึ่งติดเชื้อไวรัสโควิด 19 หากสามารถเลื่อนการผ่าตัดได้ ให้ดำเนินการแจ้งผู้ป่วยพักรักษาแบบ HI/CI ให้หายก่อน แล้วจึงค่อยนัดมาทำการผ่าตัดในภายหลัง
6. เตรียมข้อมูลสำหรับรับการประเมินเพื่อต่ออายุการรับรองสถานพยาบาล
ตามที่โรงพยาบาลพะเยา จะได้รับการประเมินเพื่อต่ออายุการรับรองสถานพยาบาล (Re-Accreditation) ครั้งที่ 5 จากสถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (สรพ.) จึงฝากให้หัวหน้ากลุ่มงานสารสนเทศทางการแพทย์ และคณะกรรมการบริหารโรงพยาบาลพะเยาทุกคน ร่วมทบทวนประเมินสถานการณ์ทางการเงินหลังจากสถานการณ์การแพร่เชื้อไวรัสโควิด 19 ผ่อนคลายลงมากขึ้น เพื่อเป็นแผนการบริหารโรงพยาบาลพะเยาในอนาคต เน้นย้ำยังเข้มมาตรการ สวมหน้ากาก ล้างมือ เว้นระยะ ห่าง และ Universal Vaccination ฉีดวัคซีนให้ครอบคลุม และสื่อสารทุกภาคส่วนร่วมสร้างความรู้ความเข้าใจและพฤติกรรมให้ประชาชนสามารถดำเนิน ชีวิตร่วมกับโควิดได้ (Living with COVID) “ประชาชนสุขภาพดี เจ้าหน้าที่มีความสุข ระบบสุขภาพยั่งยืน” ยังคงมาตรการ D-M-H-T-T-A อย่างเคร่งครัด