ประเพณีกินแกงผักขี้เหล็กห้าเป็ง ในวันเดือน 5 เป็ง ของทุกๆ ปี ซึ่งเป็นวันสำคัญของชาวเหนือล้านนาล้านนา แกงผักขี้เหล็ก นั้นมีส่วนผสมสารอาหารที่สำคัญมีทั้งเนื้อปลา เนื้อหมู มะเขือเทศ และผักอื่นที่มีสารอาหารครบถ้วน เมื่อรับประทานแล้วเชื่อว่าร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์ภายใน 1 ปี ขอให้ได้ทานแกงผักขี้เหล็กหนึ่งครั้งทำให้สุขภาพดี
ประเพณีกินแกงผักขี้เหล็กเดือน 5 เป็ง หรือเดือน5 ออก 15ค่ำ ซึ่งเป็นงานประเพณีกินแกงผักขี้เหล็ก ที่ทางท่านเจ้าคุณวิมลญาณมุนี (ครูบาบุญชื่น) รองเจ้าคณะจังหวัดพะเยาเจ้าอาวาสวัดลี ต.เวียง อ.เมือง จ.พะเยา เป็นผู้ดำริในการทำแกงขี้เหล็กขึ้นเพื่อให้สาธุชนตลอดจนผู้คนทั่วไปได้กินแกงผักขี้เหล็กกันในวันเดือน 5 เป็ง ของทุกๆ ปี ซึ่งเป็นวันสำคัญของชาวเหนือล้านนา แกงผักขี้เหล็ก นั้นมีส่วนผสมสารอาหารที่สำคัญมีทั้งเนื้อปลา เนื้อหมู มะเขือเทศ และผักอื่นที่มีสารอาหารครบถ้วน เมื่อรับประทานแล้วเชื่อว่าร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์ภายใน1 ปี ขอให้ได้ทานแกงผักขี้เหล็กหนึ่งครั้งทำให้สุขภาพดี
พระวิมลญาณมุนี รองเจ้าคณะจังหวัดพะเยา เจ้าอาวาสวัดลี ระบุว่า งานประเพณีเดือนห้าเป็ง หรืองานประเพณีสรงน้ำพระธาตุเจ้าวัดลี จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี และจะมีประเพณีกินแกงขี้เหล็กร่วมด้วย ซึ่งได้ปฏิบัติสืบทอดกันมานานหลายชั่วอายุคน โดยคนโบราณเชื่อกันว่าหากได้รับประทานแกงขี้เหล็กแล้วจะทำให้ร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์ตามชื่อของขี้เหล็ก จึงได้ปฏิบัติสืบทอดกันมาจนถึงปัจจุบัน
ขณะที่นางศิริวรรณ จันทร์อ่อน ชาวบ้านคณะศรัทธาวัดลี กล่าวว่า งานประเพณีเดือนห้าเป็งวัดลีจะมีการกินแกงผักขี้เหล็ก ซึ่งในหนึ่งปีมีเพียงครั้งเดียว ที่ทางวัดร่วมกับคณะศรัทธาลูกศิษย์ลูกหาของหลวงพ่อครูบาบุญชื่น จะพากันมาช่วยกันแกงผักขี้เหล็กร่วมด้วย จึงถือว่างานประเพณีเดือนห้าเป็งวัดลีต้องเป็นงานประเพณีกินแกงขี้เหล็กด้วย ซึ่งเป็นแห่งเดียวของจังหวัดพะเยา ที่จะทำแกงขี้เหล็กแจกจ่ายให้ประชาชน กินเพื่อเป็นความเชื่อว่าจะเป็นศิริมงคลและปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ ซึ่งใน 1 ปี จะมีเพียงครั้งเดียว
สำหรับการทำแกงขี้เหล็กตามประเพณีกินแกงขี้เหล็กวัดลี โดยเริ่มจากเก็บยอดขี้เหล็ก นำมารวมกันจำนวนหลายร้อยกิโลกรัม หรือพอประมาณแกงให้ได้ไม่ต่ำกว่า 20 หม้อแกงขนาดใหญ่ หลังจากนั้นจะนำไปแจกให้กับญาติโยมที่มาร่วมงานวัดได้รับประทานกันทุกคน เพื่อเป็นศิริมงคลด้วย
ส่วนผสมการแกงผักขี้เหล็ก เมื่อได้ยอดผักขี้เหล็กมาก็จะทำการคัด และมัดเป็นขนาดพอดี แล้วนำไปลวกด้วยน้ำร้อน แช่ค้างคืนไว้ในน้ำซาวข้าว บรรจุโอ่งมังกร หลังจากนั้นเอามาล้างน้ำสะอาดก่อนนำมาสับให้ละเอียด และที่ขาดไม่ได้ก็คือ เนื้อปลาสดๆ เอาแต่เนื้อปลา จะเน้นเนื้อปลาที่มีเกล็ดเท่านั้น นำมาคั่ว ผสมกับเครื่องปรุง มีข้าวคั่ว พริก เกลือ น้ำปลา ผักต่างๆ ใส่หม้อแกงต้มให้เดือดแล้วเอาขี้เหล็กใส่ ก่อนตักใส่ถ้วยนำไปถวายพระภิกษุ สามเณร ตลอดจนชาวบ้าน และญาติโยมที่มาร่วมงานรับประทานกัน โดยแต่ละปีจะทำไม่ต่ำกว่า 1,000 ถ้วย