ธกส.ส่งเสริมศูนย์เรียนรู้โคเนื้อภาคเหนือตอนบน

แชร์ข่าวพะเยา

ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ ธกส.จัดส่งเสริมการเชื่อมโยงธุรกิจเครือข่ายโคเนื้อ ในพื้นที่ภาคภาคเหนือตอนบน โดยการเปิดศูนย์เรียนรู้การดำเนินธุรกิจโคเนื้อครบวงจร ในเขตภาคเหนือตอนบน บริเวณโคขุนดอกคำใต้ อำเภอดอกคำใต้ หลังพบว่าอาชีพการเลี้ยงโคเนื้อ สามารถที่จะพัฒนาขยายตัวไปได้อย่างดี เนื่องจากปัจจุบันสถานการณ์โคเนื้อยังเป็นที่ต้องการของตลาดและผลผลิตภายในประเทศแทบไม่เพียงพอต่อการบริโภค

     เกษตรกรผู้เลี้ยงโคเนื้อ จากจังหวัดภาคเหนือตอนบน ประกอบด้วย จังหวัดเชียงราย แพร่ ลำปางน่าน และจังหวัดพะเยา ตลอดจนถึงเครือข่ายผู้เลี้ยงโคเนื้อ ในหลายจังหวัดของภาคเหนือ ต่างเข้าร่วมเรียนรู้ศูนย์การเรียนรู้การดำเนินธุรกิจโคเนื้อครบวงจร ในเขตภาคเหนือตอนบน ที่ทางธนาคาร ธกส. ได้พัฒนาเปิดเป็นศูนย์การเรียนรู้การดำเนินธุรกิจโคเนื้อบริเวณสหกรณ์โคขุนดอกคำใต้ อำเภอดอกคำใต้ จังหวัดพะเยา  เพื่อเป็นการเพิ่มศักยภาพและพัฒนา กลุ่มผู้เลี้ยงโคเนื้อในพื้นที่ภาคเหนือตอนบน  ให้สามารถผลิตโคเนื้อคุณภาพรองรับกับความต้องการของตลาดที่ปัจจุบันมีตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศ ยังคงมีความต้องการเป็นอย่างมากสำหรับโคเนื้อดังกล่าว

     โดยนายภูมิ เกลียวศิริกุล ผู้อำนวยการ ธกส. ฝ่ายกิจการ สาขาภาคเหนือตอนบน กล่าวว่าทาง ธกส. ได้มีแนวทางที่จะส่งเสริมและพัฒนาการเลี้ยงโคเนื้อ ซึ่งเป็นอาชีพที่สามารถเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง เนื่องจากปัจจุบันความต้องการของการบริโภค เนื้อนั้นยังคงมีปริมาณมากและภายในประเทศมีไม่เพียงพอ ตลอดจนถึงตลาดต่างประเทศยังมีความต้องการสูงมากดังนั้นทางธนาคารจึงได้มีแนวทางที่จะส่งเสริมให้เกษตรกรได้เลี้ยงโคเนื้อและพัฒนาคุณภาพ ยกระดับมาตรฐานการผลิตพัฒนาการเลี้ยงโคเนื้อจากฟาร์มให้มีคุณภาพ ซึ่งปัจจุบันทาง ธกส. ได้มีการส่งเสริมให้กับเกษตรกรเป็นศูนย์ที่ 5 ของประเทศไทย โดยการสร้างเครือข่ายผู้ผลิตต้นน้ำ ผู้รวบรวมกลางน้ำและผู้แปรรูปจากจำหน่าย  โดยในการเปิดศูนย์ในครั้งนี้เพื่อให้เป็นแหล่งเรียนรู้ในการดำเนินธุรกิจโคเนื้อให้แก่บุคคลกลุ่มบุคคล ผู้ประกอบการและเกษตรกรทั่วไป ในการพัฒนาคุณภาพมาตรฐานการผลิตการแปรรูปและการตลาดโคเนื้อ ตลอดจนห่วงโซ่อุปทาน เพื่อสร้างเครือข่ายเชื่อมโยงธุรกิจผู้ประกอบการในการพัฒนาศักยภาพเพื่อยกระดับผู้ประกอบการ ซึ่งศูนย์ดังกล่าวนั้นจะมีการเรียนรู้ ทั้งแนวทางการเลี้ยงโคให้มีคุณภาพ การแปรรูป และการตลาด

จาก ข้อมูลกรมปศุสัตว์พบว่าในปี 2563 ประเทศไทยยังคงมีความต้องการบริโภคเนื้อโค  จำนวน 1,249 ล้านตัวคิดเป็นเนื้อสัตว์ 209.83  ล้านตัน มีปริมาณการนำเข้าเนื้อโคขุนจากต่างประเทศจำนวน 8,081.34 ตัน ซึ่งจะเห็นว่าการผลิตโคเนื้อโดยเฉพาะโคเนื้อคุณภาพการตลาดในประเทศไทยยังคงมีความต้องการสูงและสร้างรายได้ให้แก่เกษตรกรผู้เลี้ยงอย่างมั่นคง ดังนั้นทางธนาคารธกส. จึงได้เข้าส่งเสริมเกษตรกรผู้เลี้ยงโคเนื้อจะต้องปรับปรุงประสิทธิภาพการเลี้ยงโคเนื้อการเก็บรักษาพันธุ์โคเนื้อ การเพิ่มผลผลิตโคเนื้อ ตลอดจนถึงการพัฒนาผลิตภัณฑ์ของโคเนื้อให้เพียงพอกับความต้องการของตลาด


แชร์ข่าวพะเยา