บวชป่าสร้างฝายอนุรักษ์นกยูงไทย

แชร์ข่าวพะเยา

      มหาวิทยาลัยพะเยา ร่วมกับคณะสงฆ์ ตลอดจนถึงชุมชน นักเรียนนักศึกษา ในพื้นที่ตำบลแม่นาเรือ อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา จัดกิจกรรม “พลังชุมชนรักษ์ป่าต้นน้ำสู่สายธารกว๊านพะเยา” โดยการบวชป่า ทำฝายชะลอน้ำ และอนุรักษ์ฝืนป่า เพื่อเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของนกยูงในจังหวัดพะเยา

      พระเดชพระคุณ พระเมธีวชิโรดม ว.วชิรเมธี และ คณะธรรมยาตราฯ ,มหาวิทยาลัยพะเยา  ผู้นำองค์กรปกครองส่วนท้องที่ ท้องถิ่น ชาวบ้านในชุมชน นักเรียน นักศึกษา ในพื้นที่ตำบลแม่นาเรือ อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา จำนวนมาก ต่างเข้าร่วมในการทำกิจกรรมบวชป่าแบบล้านนา และทำฝายชะลอน้ำ เพื่อเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของนกยูง โดยมหาวิทยาลัยพะเยา ในการนำของ อธิการบดีมหาวิทยาลัยพะเยา รองศาสตราจารย์ ดร.สุภกร พงศ์บางโพธิ์ พร้อมด้วยผู้บริหารมหาวิทยาลัยพะเยา ได้ทำการขับเคลื่อนพลังชุมชนรักษ์ป่า รักษ์นกยูง “พลังชุมชนรักษ์ป่าต้นน้ำสู่สายธารกว๊านพะเยา” ณ อ่างเก็บน้ำห้วยถ้ำ ตำบลแม่นาเรือ อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา โดยมีความมุ่งมั่นเป็นอย่างยิ่งที่จะอนุรักษ์นกยูงไทยและผืนป่าแม่กา แม่นาเรือแห่งนี้ ไว้ให้อุดมสมบูรณ์ ในอนาคต โดยร่วมกับหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน ในการที่จะสร้างสภาพแวดล้อมต้นแบบของการอยู่ร่วมกัน ระหว่างคนกับนกยูงอย่างครบวงจร นกยูงไทย ป่า และคนจะต้องสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุข โดยเฉพาะพื้นที่ตำบลแม่นาเรือ จึงควรต้องให้มีการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ ควบคู่ไปกับการสร้างฝ่ายทำให้พื้นดินเกิดการอุ้มน้ำ เพื่อส่งผลดีต่อบริเวณโดยรอบ และเป็นแหล่งน้ำสำหรับใช้ในการอุปโภคบริโภคของมนุษย์และสัตว์ ตลอดจนภาคการเกษตร

      โดยนายจารึก ศรีคำสุข ผู้นำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ระบุว่า จากสถานการณ์ที่ปัจจุบันสภาพแวดล้อมดังกล่าวของป่าแห่งนี้เริ่มมีการทรุดโทรมลง ทางชุมชนจึงได้ร่วมกันที่จะทำการอนุรักษ์ฟื้นฟูป่าและแหล่งต้นน้ำแห่งนี้ให้กลับมามีความอุดมสมบูรณ์ ซึ่งทางชุมชนได้ดำเนินการมากว่า 5 ปี แล้ว ประกอบกับในช่วงนี้พื้นที่นี้ยังเป็นแหล่งอาศัยของนกยูง และการดำเนินกิจกรรมในครั้งนี้จะช่วยให้ผืนป่าแห่งนี้กลับมามีความอุดมสมบูรณ์เป็นแหล่งอาศัยของสัตว์ป่าและเป็นแหล่งต้นน้ำที่มีความอุดมสมบูรณ์ดังเช่นอดีต

      ขณะที่ นายไชยวัฒน์  ฟูแสง กำนันตำบลแม่นาเรือ ระบุว่า ในอนาคตทางชุมชนจะร่วมมือกันอย่างเต็มที่ ที่จะอนุรักษ์ป่าต้นน้ำแห่งนี้ไว้ให้คงความสมบูรณ์ เพื่อเป็นแหล่งอาศัยของสัตว์ป่า นกยูง รวมทั้งทรัพยากรป่าไม้ให้มีความอุดมสมบูรณ์ เพื่อให้ คน ป่า สัตว์ป่า สามารถอยู่ร่วมกันได้

ด้านผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สันธิวัฒน์ พิทักษ์พล ผู้อำนวยการสถาบันนวัตกรรมและถ่ายทอดเทคโนโลยีไปในด้านเศรษฐกิจชุมชน มหาวิทยาลัยพะเยา ระบุว่า ทางมหาวิทยาลัย มีบุคลากรและวิชาการ ที่จะส่งเสริมให้กับชุมชน ได้มีการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และแปรเปลี่ยนสภาพแวดล้อมให้เป็นเศรษฐกิจ และการอนุรักษ์ดังกล่าวก็จะสามารถทำให้ชุมชนสามารถพัฒนาขีดความสามารถสู่เศรษฐกิจที่ดีได้

      ขณะที่พระเมธีวชิโรดม ว.วชิรเมธี  ระบุว่าก่อนอื่นที่จะมีการอนุรักษ์เราต้องตระหนักรู้ก่อนว่านกยูงเขาตามธรรมชาติเค้าจะอยู่ป่าเขาป่าดงดิบทำไมถึงมาหากินในถิ่นมนุษย์เรียกว่าขณะนี้ได้เดิน มายังบ้านชาวบ้านการหมักที่มันเป็นเช่นนั้นเพราะว่านกยุงเค้าต้องการสื่อสารบางสิ่งบางอย่างกับเราทุกคนว่าป่าต้นน้ำมันเสื่อมโทรมมันไม่มีแหล่งน้ำแหล่งอาหารที่เพียงพอที่เค้าจะอยู่ได้เพราะฉะนั้นนกยูง ได้บอกกับเราว่าปากกำลังเสื่อมโทรมแหล่งน้ำแหล่งอาหารกำลังขาดแคลนดังนั้นเราทุกคนต้องตื่นรู้ขึ้นมาเพื่อที่จะช่วยเหลือเกื้อกูลกันด้วยการถักทอเครือข่ายอนุรักษ์ไม่ใช่เฉพาะที่จังหวัดพะเยาอยากจะให้เครือข่ายที่ร่วมกันอนุรักษ์ดินน้ำ ฟ้า ผืนป่า ขุนเขากระจายเต็มไปหมดทั่วแผ่นดินไทยเพราะโลกทั้งผองพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันหาก มีป่าเสื่อมโทรมที่ไหน เผาป่าที่ไหน หรือการเสื่อมโทรมทรัพยากรที่ไหนก็จะส่งผลทั่วทั้งประเทศ เพราะฉะนั้นงานนี้มอบให้คนใดคนหนึ่งไม่ได้เราทุกคนทุกภาคส่วนต้องร่วมมือกัน


แชร์ข่าวพะเยา