รวมกลุ่มจักสานผักตบชวาหัตถกรรมล้านนาสร้างรายได้

แชร์ข่าวพะเยา

     กลุ่มผู้สูงอายุ แม่บ้าน ในพื้นที่บ้านสันปูเลย ตำบลสันป่าม่วง อำเภอเมืองจังหวัดพะเยา รวมกลุ่มผลิต ผลิตภัณฑ์จักสานจากผักตบชวาและไม้ไผ่ผสมผสาน จนเป็นเอกลักษณ์ของกลุ่ม รวมทั้งยังปรับตัวตามสถานการณ์การแพร่ระบาดของ โควิด-19 โดยผลิตตะกร้าครอบกระถางดอกไม้ขนาดเล็ก ที่เป็นที่นิยมอยู่ในช่วงนี้ออกจำหน่าย นอกจากนั้นยังเป็นศูนย์เรียนรู้ของการจักสานผลิตภัณฑ์

     กลุ่มผู้สูงอายุทั้งชายและหญิง ในพื้นที่บ้านสันปูเลย หมู่ที่ 3  ตำบลสันป่าม่วง อำเภอเมือง ต่างช่วยกันทำการจักสานตะกร้าและสิ่งของที่ทำจากไม้ไผ่และผักตบชวา เพื่อออกจำหน่าย หลังได้รวมกลุ่มกันผลิต ผลิตภัณฑ์หัตถกรรมล้านนา ซึ่งมีรูปแบบที่แตกต่างไปจากพื้นที่อื่นๆเนื่องจากมีการผสมผสานอุปกรณ์หลากหลายลงสู่ผลิตภัณฑ์ ที่ทางกลุ่มได้จัดทำขึ้น และเป็นที่ต้องการของตลาด

     โดยคุณศุภรดา กันทะวงศ์ ประธานกลุ่มหัตถกรรมล้านนาบ้านสันปูเลย ระบุว่า ก่อนหน้านั้นตนเองเป็นแม่ค้าจำหน่าย รูปภาพงานมงคล ซึ่งเป็นฝีมือคนเหนือมาก่อน หลังจากนั้นพอได้มีโอกาสไปออกงานตามที่ต่างๆ จึงอยากจะมีผลิตภัณฑ์เป็นของตนเอง จึงได้รวบรวมชาวบ้านที่มีความชำนาญในการจักสานมารวมกลุ่มกันทำ โดยเริ่มต้น การจักสาน รูปลักษณะของกระเป๋าข้องมงคล หลังจากนั้นก็ได้งบประมาณจากทางราชการหลากหลาย นำมาพัฒนาผลิตภัณฑ์เป็นกระเป๋าถือ และ จากนั้นก็มีการสร้างกลุ่มหัตถกรรมล้านนาบ้านสันปูเลย ซึ่งมีทั้งผู้สูงอายุ ผู้พิการแม่บ้าน โดยมีการพัฒนาผลิตกระเป๋าหลากหลายรูปแบบ และล่าสุดก็ได้รับพระราชทานของเจ้าฟ้าศิริวรรณวลี ในลายพระหัตถ์ที่ออกแบบ และช่วงนี้หลังจากที่สถานการณ์การแพร่ระบาดไวรัส โควิด-19 ทำให้เรามีรู้ว่าช่วงโควิด มีคนอยู่บ้านเพิ่มมากขึ้น ทางกลุ่มจึงได้มีการปรับเปลี่ยนในการทำผลิตภัณฑ์ ซึ่งเป็นที่ครอบกระถางดอกไม้ขนาดเล็กออกจำหน่าย ซึ่งสามารถจำหน่ายได้เป็นอย่างดีโดยเราได้นำเศษวัสดุผักตบชวาที่ตัดจากการทำกระเป๋ามาทำ ซึ่งสร้างความสนใจให้กับลูกค้าเป็นอย่างมาก นอกจากนั้นทางกลุ่มเรายังถูกยกให้เป็นศูนย์เรียนรู้หัตถกรรมการจักสานอีกด้วย ซึ่งผลิตภัณฑ์ที่เราจำหน่ายในกลุ่มของเรานั้นเริ่มต้นราคาเพียง 50 บาทจนไปถึง 550 บาทและในช่วงนี้ก็สามารถจำหน่ายได้อย่างต่อเนื่อง

คุณศุภรดา กันทะวงศ์ ประธานกลุ่มหัตถกรรมล้านนาบ้านสันปูเลย บ้านเลขที่ 118 หมู่ 3 ตำบลสันป่าม่วง อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา หมายเลขโทรศัพท์ 086-1907148


แชร์ข่าวพะเยา