ม.พะเยา ฉลอง UNESCO พะเยาเมืองแห่งการเรียนรู้

แชร์ข่าวพะเยา

     มหาวิทยาลัยพะเยา จัดงานเฉลิมฉลอง พะเยาเมืองแห่งการเรียนรู้ Learning City เพื่อเข้าสู่ UNESCO โดยภายในงาน ได้มีการจัดงาน Hackathon ตลาดชุมชน ภายใต้การออกแบบสินค้ารักษ์สิ่งแวดล้อม (BCG Model)  และกิจกรรมร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้การดำเนินกิจกรรม พะเยาเมืองแห่งการเรียนรู้

     วันที่23กุมภาพันธ์2565เวทีเสวนา โครงการ “กลไกการบริหารและพัฒนาเส้นทางแห่งการเรียนรู้ในเขตเมืองพะเยา เพื่อพัฒนา คุณภาพชีวิตของแรงงานนอกระบบด้วย BCG โมเดล” หรือโครงการพะเยาเมืองแห่งการเรียนรู้ ได้ถูกจัดขึ้นเป็นปีที่ 2 ที่มีฐานคิดและฐานการทํางานจาก BCG โมเดล โครงการ 1 คณะ 1 สัญลักษณ์ความสําเร็จ มหาวิทยาลัยพะเยา ได้ถูกจัดขึ้น เพื่อเป็นการวิเคราะห์สภาพปัจจุบันของเขตเมืองพะเยา พื้นที่เมืองแห่งการ เรียนรู้ ของเมืองพะเยา ที่สามารถทําให้เกิดการรวมกลุ่มชุมชนใหม่ เช่น ตัวแทนจาก 14 ชุมชนในเขตเทศบาลเมืองพะเยา หรือกลุ่ม สานใจฮัก เทศบาลเมืองพะเยา ซึ่งมีแนวทางที่จะให้การเรียนรู้ดังกล่าว สามารถสร้างกิจกรรมการเรียนรู้เชื่อมโยงกับ หน่วยกิต มหาวิทยาลัยพะเยา และสร้างรายได้ได้ด้วยตนเอง โดยให้ภาคีเครือข่ายทั้งหมดมีเป้าหมายเดียวกัน คือ ยกระดับคุณภาพชีวิตทางด้านจิตใจและพัฒนา คุณภาพชีวิตด้านเศรษฐกิจ ซึ่งจะก่อให้เกิดผลลัพธ์ คือ รายได้ครัวเรือน หรือ ชุมชน เพิ่มขึ้น 5% เกิดผลิตภัณฑ์ใหม่ จากการเรียนรู้บนเส้นทางการเรียนรู้พะเยา Learning City โดยผลิตภัณฑ์อยู่บนพื้นฐาน ภูมิปัญญาเดิม ที่สามารถช่วยลด Carbon Credit ได้อย่างน้อย 10% กลุ่มเป้าหมายของโครงการเป็นแรงงานนอกระบบ กลุ่มสูงวัย และแม่เลี้ยงเดี่ยวเด็กพิการ ซึ่งมีจํานวนรวมกันมากกว่า 12% ของประชากรจังหวัดพะเยา โดยใช้กลไกการบริหารเมืองร่วมกันระหว่างสถาบันการศึกษา และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หลักสูตร การเรียนรู้ตลอดชีวิตที่มีชุมชนท้องถิ่นเป็นฐาน (Local Study) บนพื้นฐาน BCG โมเดล และพื้นที่ สร้างสรรค์การเรียนรู้ เป็นเครื่องมือ

         โดยรองศาสตราจารย์ ดร.สุภกร พงศบางโพธิ์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยพะเยา ระบุว่า สำหรับมหาวิทยาลัยพะเยา อยู่ในพื้นที่ที่มีความสวยงามและเข้มแข็ง ในเรื่องวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อมอยู่แล้ว ดังนั้นการพัฒนาเศรษฐกิจ สีเขียว BCG โมเดล จึงเป็นเรื่องที่สอดรับกับปณิธานและความมุ่งมั่น ของมหาวิทยาลัยพะเยา ด้วยความร่วมมือของมหาวิทยาลัย ชุมชน หน่วยงานรัฐและเอกชนที่ช่วยสนับสนุน จะทําให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืน ตามเป้าประสงค์ต่อไป มหาวิทยาลัยได้สนับสนุนทางด้านงานวิจัย ที่พัฒนาและสร้างสรรค์ และจัดการเรียนการสอนที่สอดคล้อง รวมทั้งพัฒนาและสร้างวิถีแห่งการเรียนรู้ เพื่อเป็นพื้นที่การเรียนรู้ร่วมกับท้องถ่ิน ในอําเภอต่าง ๆ ผ่านโครงการ “1 คณะ 1 สัญลักษณ์ความสําเร็จ” ซึ่งเป็น ความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยพะเยากับเทศบาลเมืองพะเยา ชุมชน ในเทศบาลเมืองพะเยา กลุ่มผู้สูงอายุ และสภาเด็ก รวมทั้งชมรมเด็กพิเศษ ตลอดจนมุ่งพัฒนากลุ่มแรงงานนอกระบบทุกเพศทุกวัย ผ่านกิจกรรมใน หลักสูตร “UP to Upskill/ Reskill/ Newskill” ทั้งออนไลน์และออฟไลน์ ในโครงการพะเยาเมืองแห่งการเรียนรู้ (Learning City) ซึ่งผู้เรียนสามารถ เก็บจํานวนชั่วโมงเป็นหน่วยกิต (credit bank) ของมหาวิทยาลัยพะเยาได้ ทําให้เกิดการยกระดับความรู้ ทักษะ และความคิดสร้างสรรค์ รวมทั้ง กระบวนการมีส่วนร่วมของคนในชุมชน ผ่านการเรียนรู้แบบ Cross- learning community คือการนําคนต่างช่วงวัย ต่างชุมชนมาเรียนรู้ร่วมกัน เกิดการแลกเปลี่ยนความรู้ท้องถิ่น วิถีชีวิตและวัฒนธรรม”

    ด้านรองศาสตราจารย์ ดร.ผณินทรา ธรีานนท์ ผู้ช่วยอธิการบดี มหาวิทยาลัยพะเยา     ระบุว่า สำหรับแนวทางในการดำเนินการนำพะเยา เข้าสู่เมืองแห่งการเรียนรู้ ได้นำแนวทางซึ่งประกอบด้วยในแง่ของการดำเนินการในการสร้างเมืองพะเยาแห่งการเรียนรู้หรือว่าพะเยา Learning City เราได้มีการดำเนินแนวทางของ UNESCO จริงๆแล้วมีรวมทั้งหมด 6 ประการ แต่เราได้มีการดำเนินการ 4 หลักการ แต่ก็ครบถ้วนตามหลักการ UNESCO เช่นกัน ซึ่งได้แก่ 1ความร่วมมือการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ร่วมกับ อปท.คือ องค์การบริหารส่วนจังหวัดและเทศบาลเมืองพะเยา หอการค้าจังหวัดพะเยา และชุมชนในพื้นที่จังหวัดพะเยา 2 เราพัฒนาแหล่งเรียนรู้ความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากร คือผู้สอนผู้เรียน สื่อต่างๆรวมถึงพื้นที่ ที่เราเรียกว่า ซิตี้ สเปคให้เหมาะสมกับบริบทของผู้เรียน และผู้เรียนสามารถเก็บหน่วยกิต เข้าเป็นนิสิตมหาวิทยาลัยพะเยาได้ด้วย ไม่ว่าจะเป็นคนเพศ  วัย อะไร หรือเป็นคนปกติหรือทุพพลภาพ 3ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง เนื่องจากผู้เรียนของเราที่เราได้มีการส่งเสริมให้เขาเป็นผู้เรียนรู้ตลอดชีวิต มีส่วนหนึ่งที่มีความพิการรวมถึงเป็นแม่เลี้ยงเดี่ยวของลูกที่พิการ เราก็มีการส่งเสริมให้เขามาเรียน ในแหล่งเรียนรู้นี้เช่นกัน หลังจากที่มีการเรียนรู้แล้วก็จะสามารถสร้างผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและนำไปจำหน่ายได้ ทำให้เข้ารายการที่ 4 ของ UNESCO ก็คือว่าเขาสามารถสร้างงานเองได้ มีรายได้และมีงานทำ


แชร์ข่าวพะเยา