การยางแห่งประเทศไทยติดตามโครงการชะลอขายยาง

แชร์ข่าวพะเยา

     รองผู้ว่าการด้านปฏิบัติการ การยางแห่งประเทศไทย ติดตามโครงการประกันรายได้ยางพารารวมทั้งโครงการชะลอการขายยาง ก้นถ้วยแห้ง ในพื้นที่ 15 จังหวัดภาคเหนือ หลังประสบผลสำเร็จ สามารถทำให้ยางพาราก้นถ้วยแห้งมีราคาที่สูงขึ้น

     วันที่25กุมภาพันธ์2565ตัวแทนเครือข่ายสถาบันเกษตรกรสวนยางพารา ในเขตภาคเหนือ 15 จังหวัด เข้าร่วมประชุมรับฟังแนวทางในการจำหน่ายยางพาราก้นถ้วยแห้ง จาก นายสุขทัศน์ ต่างวิริยกุล  รองผู้ว่าการด้านปฏิบัติการ การยางแห่งประเทศไทย หลังการดำเนินงานตามโครงการชะลอการขายยางพาราก้นถ้วย สามารถทำให้ได้ราคาที่สูงขึ้น ส่งผลให้เกษตรกรผู้ปลูกยางพารา ได้มีการรวมกลุ่มกันในการที่จะดำเนินการชะลอการขายยาง ในขณะที่ยางก้นถ้วยยังมีความแห้งไม่เพียงพอ จนทำให้ผู้ค้าคนกลางกดราคา ซึ่งทางการยางแห่งประเทศไทย ก็ได้มีมาตรการในการที่จะเข้าช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกยาง ในกรณีดังกล่าว โดยให้มีการเข้าช่วยเหลือในการที่จะมีการดำเนินการเงินกู้เงินอุดหนุน รวมทั้งการจัดสรรเงินอุดหนุนให้กับเกษตรกรในการที่จะชะลอการขายยาง โดยการประชุมในครั้งนี้มี นายพงศธร ศรีชัย สหกรณ์จังหวัดพะเยาให้การต้อนรับ ณ. ห้องประชุมสำนักงานสหกรณ์จังหวัดพะเยา

    โดยนายสุขทัศน์ ต่างวิริยกุล  รองผู้ว่าการด้านปฏิบัติการ การยางแห่งประเทศไทย  ระบุว่า  ในวันนี้ได้มาติดตามงานของการยางแห่งประเทศไทย ภาคเหนือ 2โครงการ โครงการที่ 1 คือโครงการประกันรายได้ ซึ่งเป็นโครงการที่เป็นนโยบายของรัฐบาล ก็ต้องขอบอกกับพี่น้องเกษตรกรที่ไม่ได้รับการชดเชยดังกล่าว เนื่องจากราคายางพารา ค่อนข้างดีและสูงกว่าราคาที่ประกันไว้ ในส่วนของโครงการ การชะลอการขายซึ่งเป็นอย่างก้นถ้วย ก็ต้องขอบคุณพี่น้องเกษตรกรภาคเหนือ รวมทั้ง กยท.เขตภาคเหนือ ที่ได้ทำโครงการนี้ ซึ่งเราได้นำเคส ที่จังหวัดน่าน ซึ่งปกติราคาน้ำยางก้นถ้วย ที่จังหวัดน่านนั้นจะมีราคาที่ต่ำกว่าพะเยาและเชียงรายเนื่องจาก ระบบการขนส่งที่ต้องผ่านภูเขาและการคมนาคมที่ไม่สะดวก และอีกประการหนึ่งในเรื่องของการขนส่งยางก้นถ้วยที่จังหวัดน่าน เกิดการหกเรี่ยราด เราจึงได้มีโครงการให้เกษตรกรทำอย่างก้นถ้วยให้แห้ง และที่สำคัญถ้าราคายังไม่ดี ก็ให้มีการชะลอการขายโดยเก็บไว้ที่บ้าน แล้วค่อยนำมาขาย พบว่าหลังจากที่มีการดำเนินการ ณ.วันนี้ยางก้นถ้วย ของจังหวัดน่าน มีราคาที่สูงกว่าจังหวัดพะเยาและจังหวัดเชียงราย นั่นคือกลไกที่เราได้สร้างขึ้นเมื่อราคายางก้นถ้วยแห้งมีราคาที่สูง ก็จะนำไปสู่ไม่ต้องกังวลเรื่องของการประกันรายได้

ขณะที่นายสวัสดิ์ ลาดปาละ ประธานกรรมการเครือข่ายสถาบันเกษตรกร ชาวสวนยางเขตภาคเหนือ ระบุว่า เราได้นำเสนอโครงการชะลอการขายยางนำร่องเมื่อปี 2563 ซึ่งเป็นโมเดลแรกของประเทศไทย แต่ในปีนั้นการบริหารจัดการไม่ราบรื่น พอในปี 2564/2565 เราก็มาวางแผนที่จะดำเนินการให้หลากหลายยิ่งขึ้น ซึ่งได้เห็นผลแห่งความสำเร็จ แต่ยังไม่เป็นเชิงประจักษ์ ก็เลยได้มีการเข้าไปดำเนินการชะลอการขายยางพารา กับเกษตรกรชาวจังหวัดน่าน เต็มรูปแบบ โดยการเช่าโกดังและเข้าแข่งขันกับพ่อค้าในพื้นที่ เมื่อพ่อค้ากดราคาต่ำอย่างเต็มที่ อยู่ที่ 22 บาท เราก็ให้สหกรณ์จังหวัดลำปาง เริ่มการซื้อทำให้พ่อค้า มองเห็นว่าในการซื้อดังกล่าวมีการซื้อจริง จนมาถึงต้นปี 2565 ในตลาดก็มีการแข่งขันกัน โดยในพื้นที่จังหวัดน่าน ครอบคลุมทุกพื้นที่สามารถดึงยางออกจากตลาด 20% ของยางจังหวัดน่าน ส่งผลให้ราคาสูงขึ้นกว่าจังหวัดอื่นๆ

     ขณะที่นายไสว นารีพล ผู้อำนวยการ การยางแห่งประเทศไทยเขตภาคเหนือ ระบุว่า ในส่วนของโครงการชะลอดังกล่าวนั้น กยท.ปล่อยให้สถาบันที่เข้าร่วมโครงการกู้เงิน จาก กยท. โดย กยท.ะจ่ายเงินดังกล่าว 80% ในส่วนของ 20% สถาบันจะเป็นผู้จ่าย แล้วเมื่อสต๊อกลูกค้า ที่ชะลอไว้แล้วและถึงกำหนดเวลาที่สถาบันคาดว่าน่าจะขายและมีกำไร ซึ่งดูกลไกทางการตลาด ซึ่งยางทุกกิโลต้องขายผ่านตลาดกลางยางพารา ในจังหวัดเชียงราย เมื่อขายเสร็จแล้วพ่อค้าที่ซื้อยางพาราจะต้องโอนเงินมายังตลาดกลางยางพารา จังหวัดเชียงราย และตลาดกลางยางพาราจังหวัดเชียงราย จะหักเงินกู้จากสถาบันเกษตรกรทันที ในส่วนที่เหลือก็จะโอนเงินให้กับสถาบันเกษตรกรที่เหลือ ในส่วนตรงนี้ทาง กยท.ก็จะจ่ายค่าดำเนินการให้กับสถาบันที่เข้าร่วมโครงการ ในกิโลกรัมละ 50 สตางค์ ซึ่งยางก้นถ้วยแห้งดังกล่าวนั้น ที่เกษตรกรชะลอการขาย จะเป็นยางก้นถ้วยที่ไม่เปียก ซึ่งจะช่วยในเรื่องสิ่งแวดล้อมในเรื่องของน้ำยาหกเรื่อยราด และยังเป็นการเป็นการช่วยเหลือให้ราคายางพาราของเกษตรกรจำหน่ายในราคาที่สูงขึ้น


แชร์ข่าวพะเยา