SEEN ม.พะเยา จัดรับฟังความคิดเห็น การบริหารจัดการเพื่อการประหยัดพลังงานภายในของมหาวิทยาลัยพะเยา

แชร์ข่าวพะเยา

มหาวิทยาลัยพะเยา โดย รศ.ดร.ต่อพงศ์ กรีธาชาติ คณบดีคณะพลังงานและสิ่งแวดล้อม ร่วมกับ นายศุภกร แสงศรีธร รองผู้อำนวยการฝ่ายอำนวยการภูมิภาค การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ภาค4 ได้ดำเนินการจัดประชุมรับฟังความคิดเห็น ภายใต้โครงการบริหารจัดการเพื่อการประหยัดพลังงานภายในของมหาวิทยาลัยพะเยา เพื่อรับฟังความคิดเห็นของประชาชนต่อการดำเนินโครงการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ (Solar rooftop) โดยการติดตั้งแผงโซล่าเซลล์เพื่อรับแสงอาทิตย์บนหลังคาอาคารและส่งเสริมการพัฒนาพลังงานทดแทนสำหรับมหาวิทยาลัยพะเยาและสามารถดำเนินการศึกษาวิจัยในประเด็นต่างๆ Smart Energy Meter,P2P model, Energy Storage ได้

 การดำเนินกิจกรรมดังกล่าว มหาวิทยาลัยมีวัตถุประสงค์ที่จะขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการผลิตไฟฟ้าจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) ดังนั้น จึงได้ดำเนินการประชาสัมพันธ์ข้อมูลเกี่ยวกับการดำเนินโครงการต่อกลุ่มเป้าหมายต่างๆเพื่อให้ได้รับทราบและมีความเข้าใจเกี่ยวกับการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนหลังคาอาคารตามแนวทางการมีส่วนร่วมของประชาชนที่กำหนดไว้ในระเบียบคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงานว่าด้วยรับฟังความเห็นและทำความเข้าใจกับประชาชนและผู้มีส่วนได้เสียในการพิจารณาออกใบอนุญาตกิจการผลิตไฟฟ้า พ.ศ. 2565

 โดยมีแผนการใช้ประโยชน์จากพื้นที่ว่างบริเวณหลังคาอาคารต่างๆ และนำพลังงานสะอาดที่ได้จากแสงอาทิตย์ นำมาผลิตไฟฟ้าโดยใช้เทคโนโลยีแผงโฟโตโวลเทอิก หรือแผงเซลล์แสงอาทิตย์ เพื่อใช้ภายในมหาวิทยาลัยพะเยา โดยโครงการจะดำเนินการติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าจากแผงเซลล์แสงอาทิตย์ไว้บนหลังคาของอาคารต่างๆ จำนวน ๑๓ หลัง ประกอบด้วย อาคาร ICT อาคารวิทยาศาสตร์การแพทย์ อาคาร SCI01-02 อาคาร SCI03-04 อาคาร CE03-04อาคาร CE05-06 อาคาร CE07 อาคาร CE08 อาคาร CE09-10 อาคาร CE11- 12 อาคาร CE13-14 อาคารพระอุบาลีคุณูปมาชจารย์ และอาคารเรียนรวมหลังเก่า มีขนาดกำลังผลิต รวม 2,997.07 กิโลวัตต์

 การจัดรับฟังความคิดเห็นของประชาชนต่อการดำเนินโครงการ ดังกล่าวนั้น ได้จัดประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชนต่อการดำเนินโครงการ ในวันที่ 23 มีนาคม 2565 เวลา 09. 00- 12.00 น. ณ ห้องภูกามยาว 2 อาคารเรียนรวมหลังเก่า และเปิดรับฟังความเห็นต่อเนื่องไปอีกไม่น้อยกว่า 15 วัน ตั้งแต่วันที่ 24 มีนาคม ถึงวันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2565

เอกสารสรุปรายละเอียดข้อมูลโครงการประกอบการประชุมรับฟังความคิดเห็น

โครงการบริหารจัดการเพื่อการประหยัดพลังงานภายในของมหาวิทยาลัยพะเยา

1. รายละเอียดโครงการ

(1) ชื่อโครงการ : โครงการบริหรจัดการ เพื่อการประหยัดพลังงนภายในของมหาวิทยาลัยพะเยา

(2) ผู้ขอรับใบอนุญาต : มหาวิทยาลัยพะเยา

(3) สถานที่ตั้งโครงการ : ตั้งอยู่ที่ เลขที่ 19 หมู่ที่ 2 ตำบลแม่กา อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา โดยมีแผนการ

ใช้ประโยชน์จากพื้นที่ว่างบริเวณหลังคาอาคารต่างๆ และนำพลังงานสะอาดที่ได้จากแสงอาทิตย์ นำมาผลิตไฟฟ้า

โดยใช้เทคโนโลยีแผงโฟโตโวลเทอิก หรือแผงเซลล์แสงอาทิตย์ เพื่อใช้ภายในมหาวิทยาลัยพะเยา โดยโครงการจะ

ดำเนินการติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าจากแผงเซลล์แสงอาทิตย์ไว้บนหลังคาของอาคารต่างๆ จำนวน 13 หลัง

ประกอบด้วย อาคาร ICT อาคารวิทยาศาสตร์การแพทย์ อาคาร SCI01-02 อาคาร SCI 03-04 อาคาร CE03-04

อาคาร CE05-06 อาคาร CE07 อาคาร CE08 อาคาร CE09-10 อาคาร CE11- 12 อาคาร CE13-14 อาคารพระอุ

บาลีคุณูปมาชจารย์ และอาคารเรียนรวมหลังเก่า มีขนาดกำลังผลิต รวม 2,997.07 กิโลวัตต์

ผังติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าจากแผงเชลล์แสงอาทิตย์ไว้บนหลังคาของอาคาร แสดงดังรูปที่ 1

(4) พื้นที่ศึกษาโครงการ : ครอบคลุมที่ตั้งโครงการและบริเวณโดยรอบจากขอบเขตโครงการในรัศมี

1 กิโลเมตร ซึ่งครอบคลุมพื้นที่ภายในมหาวิทยาลัยพะเยา และบางส่วนของหมู่ที่ 1 บ้านหม้อแกงทอง และ

หมู่ที่ 2 บ้านห้วยเคียน ตำบลแม่กา อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา โดยขอบเขตพื้นที่ศึกษา แสดงดังรูปที่ 2

2. เหตุผล ความจำเป็นและวัตถุประสงค์ของโครงการ

มหาวิทยาลัยพะเยา มีวัตถุประสงค์ดำเนินโครงการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ (Solar

rooftop) โดยการติดตั้งแผงโซล่าเซลล์เพื่อรับแสงอาทิตย์บนหลังคาอาคารและส่งเสริมการพัฒนาพลังงาน

ทดแทนสำหรับมหาวิทยาลัยพะเยาและสามารถดำเนินการศึกษาวิจัยในประเด็นต่างๆ Smart Energy Meter,

P2P model, Energy Storage ได้ โดยการดำเนินกิจกรรมดังกล่าว มหาวิทยาลัยมีวัตถุประสงค์ที่จะขอรับ

ใบอนุญาตประกอบกิจการผลิตไฟฟ้าจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.)

ดังนั้น จึงได้ดำเนินการประชาสัมพันธ์ข้อมูลเกี่ยวกับการดำเนินโครงการต่อกลุ่มเป้าหมายต่างๆ

เพื่อให้ได้รับทราบและมีความเข้าใจเกี่ยวกับการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนหลังคาอาคาร

ตามแนวทางการมีส่วนร่วมของประชาชนที่กำหนดไว้ในระเบียบคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงานว่าด้วย

รับฟังความเห็นและทำความเข้าใจกับประชาชนและผู้มีส่วนได้เสียในการพิจารณาออกใบอนุญ

กิจการผลิตไฟฟ้า พ.ศ. 2565

3. ขั้นตอนและระยะเวลาการดำเนินการก่สร้าง และดำเนินโครงการ /งบประมาณในการดำเนินงาน

(1) ขั้นตอนและระยะเวลาดำเนินการก่อสร้างโครงการ และดำเนินโครงการ

ระยะเวลาการก่อสร้างและติดตั้งของโครงการ ประมาณ 5 เดือน (พฤศจิกายน พ.ศ. 2564 – มีนาคม

พ.ศ. 2565) และระยะเวลาดำเนินโครงการมีระยะเวลารวม 20 ปี

(2) งบประมาณค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน

ค่าใช้จ่ายในการดำเนินโครงการ ประมาณ 1 10,000,000 บาท (หนึ่งร้อยสิบล้านบาท)

4. ประโยชน์ที่ชุมชนหรือประชาชนได้รับจากผลผลิตและผลลัพธ์ของโครงการ

(1)  เพื่อส่งเสริมความรู้ให้แก่บุคลากร นักเรียน นักศึกษาของ มหาวิทยาลัยพะเยาและประชาชนทั่วไป

(2) ช่วยประเทศลดภาระการนำเข้าเชื้อเพลิงฟอสซิลสำหรับใช้ในการผลิตไฟฟ้า

(3) ช่วยสร้างสมดุล และความมั่นคงด้านพลังงานของประเทศ โดยการไม่พึ่งพาการผลิตไฟฟ้าจาก

เชื้อเพลิงชนิดใดชนิดหนึ่ง

(4) ช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกออกสู่ชั้นบรรยากาศ เนื่องจากการผลิตไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงฟอสซิล

จะมีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกออกสู่ชั้นบรรยากาศซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งของภาวะโลกร้อน

(5) เป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจในชุมชนจากการใช้จ่ายของคนที่เข้ามาทำงานในโครงการทั้งช่วงก่อสร้าง

และดำเนินงาน

5. สาระสำคัญโครงการ

ขนาดกำลังการผลิตติดตั้ง

เครื่องจักร/เทคโนโลยี

ประเภทและแหล่งเชื้อเพลิง

ปริมาณการใช้และแหล่งน้ำ

การจัดการกากของเสีย

การบำบัดน้ำใช้ใน

กระบวนการผลิต

2,997.07 กิโลวัตต์

แผงเชลล์แสงอาทิตย์ ชนิด Monocrystalline จำนวน 5,602 แผง

แสงอาทิตย์จากธรรมชาติ

น้ำใช้ในโครงการส่วนใหญ่ใช้สำหรับในการล้างแผงเชลล์แสงอาทิตย์ ประมาณสูงสุด

6,000 ลบ.ม.ต่อวัน โดยใช้น้ำจากระบบผลิตน้ำประปาของมหาวิทยาลัยพะเยา ซึ่งรับ

น้ำประปามาจากการประปาส่วนภูมิภาคสาขาพะเยา

เน้นการคัดแยกของเสีย เพื่อนำกลับมาใช้ใหม่ หรือจำหน่าย ส่วนของเสียที่ต้องทิ้ง

บริษัทฯจะว่าจ้างหน่วยงานผู้ได้รับอนุญาตจากกรมโรงงานอุตสาหกรรมมารับเพื่อนำไป

กำจัด

1. น้ำที่ใช้ล้างแผงเซลล์แสงอาทิตย์เป็นน้ำสะอาด ไม่ผสมสารเคมีอันตราย โดยน้ำจาก

การล้างแผงจะถูกรวบรวมเข้าระบบบำบัดน้ำเสียสำเร็จรูปของมหาวิทยาลัยพะเยา

2. น้ำทิ้งจากการใช้งานทั่วไปและการอุปโภคบริโภคสำหรับอาคารควบคุมระบบผลิต

ไฟฟ้าจะถูกรวบรวมเข้าระบบบำบัดน้ำเสียสำเร็จรูป (Septic Tank) และระบายลง


แชร์ข่าวพะเยา