กลุ่มวิสาหกิจชุมชนร้องงบไม่โปร่งใส

แชร์ข่าวพะเยา

     ตัวแทนกลุ่มวิสาหกิจชุมชนในพื้นที่จังหวัดพะเยา จำนวน 10 ราย เข้าทำการดำเนินการร้องเรียนต่อศูนย์ดำรงธรรมจังหวัดพะเยา หลังกลุ่มวิสาหกิจชุมชนในพื้นที่จังหวัดพะเยา กว่า 88 กลุ่มที่ได้รับงบประมาณในโครงการ งบประมาณสำรองจ่าย เพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เพื่อดำเนินงานโครงการอบรมส่งเสริมการพัฒนายกระดับทักษะอาชีพ ในภาคเกษตรกรรม โดยได้รับงบประมาณแต่ละกลุ่มละ 120,000 บาท แต่ทางผู้รับผิดชอบโครงการคือมหาวิทยาลัยราชมงคลล้านนา-อีสาน ได้นำปัจจัยการผลิตมาให้ ซึ่งมีมูลค่าไม่ถึง 10,000 บาท จึงรวมตัวเข้าร้องเรียนให้ตรวจสอบความโปร่งใสในกรณีดังกล่าว

    วันที่ 9 มิ.ย.65 ตัวแทนกลุ่มวิสาหกิจชุมชนในพื้นที่จังหวัดพะเยา กว่า 10 ราย นำหนังสือและหลักฐานการรับมอบปัจจัยการผลิตที่ได้รับจากโครงการ หลังเกิดความแคลงใจในงบประมาณดังกล่าว ที่ได้รับการจัดสรรงบประมาณสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เพื่อดำเนินงานโครงการอบรมส่งเสริมการพัฒนายกระดับทักษะอาชีพในภาคเกษตรกรรม จากสำนักนายกรัฐมนตรีโดยให้ทางมหาวิทยาลัยราชมงคลล้านา-อีสาน เป็นผู้ดำเนินโครงการในวงเงินงบประมาณ 417 ล้านบาทโดยสนับสนุนกลุ่มวิสาหกิจชุมชนรวม 2574 วิสาหกิจชุมชนทั่วประเทศ ซึ่งในพื้นที่จังหวัดพะเยา ได้รับการจัดสรรงบประมาณรวมทั้งหมด 88 กลุ่ม ในวงเงินกลุ่มละ 120,000 บาท โดยทางมหาวิทยาลัยราชมงคลล้านนา-อีสาน ได้ทำการอบรมและนำปัจจัยการผลิตส่งมอบให้กับกลุ่มวิสาหกิจชุมชนในพื้นที่จังหวัดพะเยา ซึ่งพบว่าปัจจัยการผลิตดังกล่าวนั้นมีมูลค่าที่น้อยมากไม่สมเหตุสมผลในงบประมาณ 120,000 บาท จึงรวมตัวกันเข้าเรียกร้อง ซึ่งคาดว่าโครงการและการจัดสรรงบประมาณดังกล่าวนั้น น่าจะเกิดความไม่โปร่งใส

     โดยนางบุญธิสา มีสุขอายุ  56  ปี ซึ่งเป็นแกนนำในการรวบรวมวิสาหกิจชุมชน ในพื้นที่จังหวัดพะเยา ระบุว่า โครงการดังกล่าวนั้นเป็นโครงการที่ให้ทางกลุ่มวิสาหกิจชุมชนได้มีการรวบรวมกัน เสนอของบประมาณจากสำนักนายกรัฐมนตรี ในวงเงิน 417 ล้านบาทโดยสนับสนุนกลุ่มวิสาหกิจชุมชนรวมทั่วประเทศจำนวน 2574 กลุ่ม ซึ่งแต่เดิมนั้นจะมีวงเงินกลุ่มละ 300,000 บาทแต่ต่อมาก็มีการลดจำนวนเงินลง จนล่าสุดเหลืองบประมาณให้กลุ่มละ 120,000 บาทโดยทางมหาวิทยาลัยราชมงคลล้านนา-อีสาน เป็นผู้รับผิดชอบโครงการซึ่งหลังจากที่มีการอบรมเสร็จสิ้น ได้มีการนำงบประมาณจำนวน 120,000 บาท มามอบให้ในลักษณะเป็นปัจจัยการผลิต ทั้งอาชีพการเลี้ยงปลา เลี้ยงไก่ กลุ่มสมุนไพร หรือการเกษตรด้านอื่นๆซึ่งหลังจากที่มีการส่งมอบพบว่ามูลค่าของปัจจัยการผลิตนั้นมีค่าที่ไม่สมกับงบประมาณจำนวน 120,000 บาท เช่นโครงการสมุนไพร ก็มีอุปกรณ์มาให้เพียงเล็กน้อย ซึ่งคาดว่าไม่เกิน 10,000 บาท รวมทั้งไก่ก็ให้จำนวนน้อย ปลาก็ให้ปลาที่ไม่มีคุณภาพ ประกอบกับมีจำนวนที่ไม่สมเหตุสมผล จึงเดินทางเข้าเรียกร้อง เพื่อให้ศูนย์ดำรงธรรมของจังหวัด ได้มีการตรวจสอบงบประมาณดังกล่าวซึ่งคาดว่าเกิดความไม่โปร่งใส

     สัมภาษณ์… นางบุญธิสา มีสุข อายุ  56  ปี บ้านเลขที่ 43 หมู่ 5 ตำบลดอกคำใต้ อำเภอดอกคำใต้จังหวัดพะเยา

     ขณะที่นายชนากานต์ บ้านสระ อายุ  60 ปี กลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มเพาะเห็ด ระบุว่า การจัดสรรงบประมาณมันไม่สมกับงบประมาณที่ได้รับมา เช่น กลุ่มของตนเองนั้นเป็นกลุ่มเห็ดได้รับจัดสรรปัจจัยการผลิตเป็นเชื้อพันธุ์เห็ดจำนวน 1,000 ก้อน ซึ่งต้นทุนก็จะตกอยู่ที่ประมาณ 8 บาทถึง 10 บาท ซึ่งมันไม่ถึงขนาด 120,000 บาท ซึ่งหากได้ครึ่งหนึ่งก็ถือว่าดี ในส่วนของปลาก็ได้นำปลาตัวเล็กมากและตายเป็นจำนวนมาก สำหรับไก่ก็ได้ไม่มากได้ประมาณ 60 ตัว ซึ่งงบประมาณทุกโครงการที่ได้รับจัดสรรมา ถือว่าเป็นงบประมาณที่ไม่สมเหตุสมผลและมีมูลค่าน้อยจนเกินไป จึงเดินทางเข้าเรียกร้องให้ศูนย์ดำรงธรรมจังหวัดพะเยาเข้าดำเนินการตรวจสอบเรื่องดังกล่าวให้กับกลุ่มวิสาหกิจชุมชนในพื้นที่ จังหวัดพะเยาด้วย

     สัมภาษณ์… นายชนากานต์ บ้านสระ อายุ 60 ปีบ้านเลขที่ 79 หมู่ 4 ตำบลสระ อำเภอเชียงม่วนจังหวัดพะเยา โทร 0987714198

     ขณะที่ทางศูนย์ดำรงธรรม ระบุว่า จะนำเรื่องดังกล่าวเข้าเสนอกับทางจังหวัด เพื่อให้มีการดำเนินการตรวจสอบกับโครงการดังกล่าวต่อไป


แชร์ข่าวพะเยา