วันที่ 29 ตุลาคม 2568 เวลา 08.30 น. โรงพยาบาลพะเยา จัดนิทรรศการ ‘แสงนำใจไทยทั้งชาติ เดิน วิ่ง ปั่น ป้องกันอัมพาต เฉลิมพระเกียรติ (Healthy Thais)’ (Healthy Brains) รณรงค์ป้องกันสโตรค โรคหลอดเลือดสมอง ภายใต้ โครงการ เดิน วิ่ง ปั่น ป้องกันอัมพาต ครั้งที่ 10 เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 ธ เป็นแสงนำใจไทยทั้งชาติ โดยมี นายรัฐพล นราดิศร ผู้ว่าราชการจังหวัดพะเยา เป็นประธาน ในพิธีกล่าวถวายราชสดุดีพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและเปิดนิทรรศการตามโครงการ “เดิน วิ่ง ปั่น ป้องกันอัมพาต ครั้งที่ 10 เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 โดยมี นายแพทย์เอกชัย คำลือ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดพะเยา เป็นผู้กล่าวรายงาน และ นายแพทย์ธวัชชัย ปานทอง ผู้อำนวยการโรงพยาบาลพะเยากล่าวต้อนรับ พร้อมนำ หัวหน้าส่วนราชการ คณะผู้บริหาร ข้าราชการและประชาชนชาวพะเยา ร่วมชมนิทรรศการพระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าพระราชทานและสนับสนุนการพัฒนาระบบสาธารณสุข เพื่อดูแลราษฎรชาวไทย
ปัจจุบันโรคหลอดเลือดสมองเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญและถือเป็นภัยร้ายใกล้ตัวเรา อีกทั้งนับวันจะมีผู้ป่วยด้วยโรคนี้เพิ่มขึ้นทุกปี นอกจากจะส่งผลต่อชีวิตของผู้ป่วยแล้ว ยังมีผู้ที่รอดชีวิตอีกจำนวนมากที่ต้องกลายเป็นผู้พิการ ต้องพึ่งพิงผู้อื่น ค่ารักษาพยาบาลยังส่งผลกระทบต่อคนในครอบครัว ทำให้คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยและผู้ดูแลได้รับผลกระทบตามไปด้วย จากรายงานการศึกษาโรคและการบาดเจ็บของประชากรไทยพบว่า มีผู้ป่วยเสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดและหัวใจทั่วโลกประมาณ 16.7 ล้านคนต่อปี ในจำนวนนี้เกิดจากโรคหลอดเลือดสมองประมาณ 5.5 ล้านคน โดยกว่าร้อยละ 80 ของผู้ป่วยโรคนี้ เกิดในประเทศกำลังพัฒนา ในประเทศไทยพบผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองประมาณ 1,880 คน ต่อประชากรแสนคน หรือร้อยละ 2 ซึ่งถือเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับหนึ่งในเพศหญิง และอันดับสามในเพศชาย รองจากอุบัติเหตุและโรคมะเร็ง นอกจากนั้น โรคนี้ยังมีอัตราความพิการสูง จากการศึกษาในประเทศไทยพบว่า ในผู้ป่วย 100 คน ที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล จะเสียชีวิตร้อยละ 5 และพิการร้อยละ 70 ซึ่งนอกจากความพิการทางกาย อาการของโรคยังมีผลทำให้ความจำเสื่อมในภายหลังอีกด้วย
นอกเหนือจากการรักษายังให้ความสำคัญด้านการป้องกันไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากันและหากประชาชนได้รับความรู้ทั้งแนวทางป้องกัน และสามารถปฏิบัติตนได้อย่างถูกวิธี โรคหลอดเลือดสมองเป็นโรคที่สามารถป้องกันได้ร้อยละ 90 เพียงปรับพฤติกรรมเพื่อเลี่ยงความเสี่ยงได้
กิจกรรมประกอบด้วย การแสดงการออกกำลังกายป้องกันโรคหลอดเลือดสมองในกลุ่มผู้สูงวัย โดย ชมรมผู้สูงอายุเทศบาลเมืองพะเยา การเสวนาอภิปราย เรื่อง “Health Thais, Healthy Brains” โดย พ.ญ.สุนารี จันตา และ นพ.เกรียงศักดิ์ จำปาวงค์ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง การจัดบอร์ดนิทรรศการ การออกบูธจากทีมสหสาขาวิชาชีพ กิจกรรมความรู้ในการป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง กิจกรรมประเมินสุขภาพ วัดดรรชีมวลกาย ภาวะความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง, ตัวอย่างอาหารที่ควรรับประทานและหลีกเลี่ยงในผู้ป่วยกลุ่มโรคเรื้อรัง ความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน ไขมันในเลือดสูง, ความรู้เรื่องยา, ความรู้ในการออกกำลังกาย, สัญญาณเตือนโรคหลอดเลือดสมองที่สำคัญที่ควรมาพบแพทย์ จัดขึ้นระหว่างวันที่ 29 ตุลาคม ถึงวันที่ 2 พฤศจิกายน 2567 เพื่อให้ผู้เข้าร่วมงานได้รับความรู้และสามารถปรับพฤติกรรมความเสี่ยง ในการสร้างสุขภาพที่แข็งแรงห่างไกลโรคต่อไปได้อย่างยั่งยืนพิธีเปิดนิทรรศการตามโครงการ “ เดิน วิ่ง ปั่น ป้องกันอัมพาต ครั้งที่ 10 เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ” เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567
วันที่ 29 ตุลาคม 2568 เวลา 08.30 น. โรงพยาบาลพะเยา จัดนิทรรศการ ‘แสงนำใจไทยทั้งชาติ เดิน วิ่ง ปั่น ป้องกันอัมพาต เฉลิมพระเกียรติ (Healthy Thais)’ (Healthy Brains) รณรงค์ป้องกันสโตรค โรคหลอดเลือดสมอง ภายใต้ โครงการ เดิน วิ่ง ปั่น ป้องกันอัมพาต ครั้งที่ 10 เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 ธ เป็นแสงนำใจไทยทั้งชาติ โดยมี นายรัฐพล นราดิศร ผู้ว่าราชการจังหวัดพะเยา เป็นประธาน ในพิธีกล่าวถวายราชสดุดีพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและเปิดนิทรรศการตามโครงการ “เดิน วิ่ง ปั่น ป้องกันอัมพาต ครั้งที่ 10 เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 โดยมี นายแพทย์เอกชัย คำลือ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดพะเยา เป็นผู้กล่าวรายงาน และ นายแพทย์ธวัชชัย ปานทอง ผู้อำนวยการโรงพยาบาลพะเยากล่าวต้อนรับ พร้อมนำ หัวหน้าส่วนราชการ คณะผู้บริหาร ข้าราชการและประชาชนชาวพะเยา ร่วมชมนิทรรศการพระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าพระราชทานและสนับสนุนการพัฒนาระบบสาธารณสุข เพื่อดูแลราษฎรชาวไทย
ปัจจุบันโรคหลอดเลือดสมองเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญและถือเป็นภัยร้ายใกล้ตัวเรา อีกทั้งนับวันจะมีผู้ป่วยด้วยโรคนี้เพิ่มขึ้นทุกปี นอกจากจะส่งผลต่อชีวิตของผู้ป่วยแล้ว ยังมีผู้ที่รอดชีวิตอีกจำนวนมากที่ต้องกลายเป็นผู้พิการ ต้องพึ่งพิงผู้อื่น ค่ารักษาพยาบาลยังส่งผลกระทบต่อคนในครอบครัว ทำให้คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยและผู้ดูแลได้รับผลกระทบตามไปด้วย จากรายงานการศึกษาโรคและการบาดเจ็บของประชากรไทยพบว่า มีผู้ป่วยเสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดและหัวใจทั่วโลกประมาณ 16.7 ล้านคนต่อปี ในจำนวนนี้เกิดจากโรคหลอดเลือดสมองประมาณ 5.5 ล้านคน โดยกว่าร้อยละ 80 ของผู้ป่วยโรคนี้ เกิดในประเทศกำลังพัฒนา ในประเทศไทยพบผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองประมาณ 1,880 คน ต่อประชากรแสนคน หรือร้อยละ 2 ซึ่งถือเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับหนึ่งในเพศหญิง และอันดับสามในเพศชาย รองจากอุบัติเหตุและโรคมะเร็ง นอกจากนั้น โรคนี้ยังมีอัตราความพิการสูง จากการศึกษาในประเทศไทยพบว่า ในผู้ป่วย 100 คน ที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล จะเสียชีวิตร้อยละ 5 และพิการร้อยละ 70 ซึ่งนอกจากความพิการทางกาย อาการของโรคยังมีผลทำให้ความจำเสื่อมในภายหลังอีกด้วย
นอกเหนือจากการรักษายังให้ความสำคัญด้านการป้องกันไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากันและหากประชาชนได้รับความรู้ทั้งแนวทางป้องกัน และสามารถปฏิบัติตนได้อย่างถูกวิธี โรคหลอดเลือดสมองเป็นโรคที่สามารถป้องกันได้ร้อยละ 90 เพียงปรับพฤติกรรมเพื่อเลี่ยงความเสี่ยงได้
กิจกรรมประกอบด้วย การแสดงการออกกำลังกายป้องกันโรคหลอดเลือดสมองในกลุ่มผู้สูงวัย โดย ชมรมผู้สูงอายุเทศบาลเมืองพะเยา การเสวนาอภิปราย เรื่อง “Health Thais, Healthy Brains” โดย พ.ญ.สุนารี จันตา และ นพ.เกรียงศักดิ์ จำปาวงค์ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง การจัดบอร์ดนิทรรศการ การออกบูธจากทีมสหสาขาวิชาชีพ กิจกรรมความรู้ในการป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง กิจกรรมประเมินสุขภาพ วัดดรรชีมวลกาย ภาวะความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง, ตัวอย่างอาหารที่ควรรับประทานและหลีกเลี่ยงในผู้ป่วยกลุ่มโรคเรื้อรัง ความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน ไขมันในเลือดสูง, ความรู้เรื่องยา, ความรู้ในการออกกำลังกาย, สัญญาณเตือนโรคหลอดเลือดสมองที่สำคัญที่ควรมาพบแพทย์ จัดขึ้นระหว่างวันที่ 29 ตุลาคม ถึงวันที่ 2 พฤศจิกายน 2567 เพื่อให้ผู้เข้าร่วมงานได้รับความรู้และสามารถปรับพฤติกรรมความเสี่ยง ในการสร้างสุขภาพที่แข็งแรงห่างไกลโรคต่อไปได้อย่างยั่งยืน