พระวัดดังในพื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา จัดทำ ต๋าแหล๋ว เครื่องหมายพิธีกรรม ซึ่งเป็นความเชื่อของชาวล้านนาในการลบล้างสิ่งอัปมงคลต่าง ตลอดจนเสริมบุญบารมี ซึ่งเป็นสิ่งที่สืบทอดกันมายาวนานมากกว่าหลาย 100 ปี ในช่วงเทศกาลปีใหม่เมือง หรือเทศกาลสงกรานต์ เพื่อให้ชาวบ้านได้นำไปติดไว้ที่หน้าบ้านของตนเอง เพื่อขจัดเพศภัยต่างๆรวมทั้งเสริมบุญบารมี
ต๋าแหล๋ว หรือเฉลียว ที่ทำจากเครื่องจักสานไม้ไผ่ที่เป็นเส้นๆนำมามัด ด้วยกันหรือรวมกันให้เป็นตาข่ายในรูปแบบต่างๆอาทิ แบบเหลี่ยม เช่นสี่เหลี่ยม หกเหลี่ยม หรือแปดเหลี่ยม เป็นสิ่งที่ทางวัดโสมนัสตุ้มท่า ตำบลท่าจำปี อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา ได้จัดทำขึ้นเพื่อเป็นการรักษาขนบธรรมเนียมประเพณีและศิลปวัฒนธรรมของท้องถิ่นไว้ให้คงอยู่ต่อไป ซึ่งชาวล้านนาหรือชาวเหนือ มักจะมีความเชื่อกันในเรื่องของ “ต๋าแหล๋ว” ที่เป็นเครื่องหมายพิธีกรรมความเชื่อในเรื่องของการป้องกันลบล้างสิ่งอัปมงคล เสริมบุญบารมีให้อยู่เย็นเป็นสุข ป้องกันเพศภัยต่างๆซึ่งชาวเหนือจะนิยมนำมาติดไว้บริเวณหน้าบ้านของตนเอง ในช่วงหลังจากที่มีพิธีสืบชะตาในวันมหาสงกรานต์
โดยพระใบฎีกาทศพล ญาณเมธี เจ้าอาวาสวัดโสมนัสตุ้มท่า ตำบลท่าจำปี อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา ระบุว่า ในเรื่องของการทำ ต๋าแหล๋ว ดังกล่าวนั้น ถือเป็นความเชื่อของชาวเหนือ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของการที่จะคอยป้องกันเพศภัยต่างๆรวมทั้งสิ่งอัปมงคล ที่จะมากล้ำกรายและให้หลีกหนีพ้นไป นอกจากนั้นยังเป็นการเสริมบารมีของเจ้าบ้านที่ได้นำ ต๋าแหล๋ว ดังกล่าวไปติดไว้บริเวณหน้าบ้าน ซึ่งชาวล้านนานั้นจะให้ความสำคัญกับ ต๋าแหล๋ว ในพิธีกรรมต่างๆอาทิเช่น การทำนาก็จะมีการปัก ต๋าแหล๋ว ไว้เพื่อป้องกันศัตรูพืชหรือสิ่งอื่นๆที่จะมาทำลายข้าวกล้าในนา โดยส่วนประกอบของตาแล้วนั้นก็จะประกอบด้วย ไม้ไผ่ ที่ทำการจักสานออกมาเป็นแผ่นบางๆโดยจะทำเป็นเจ็ดชั้น เป็นลักษณะเสมือนกำแพงแก้วเจ็ดชั้น และจะมีคาเขียวผูกพันไว้โดยรอบ พร้อมกับส้มปล่อย ซึ่งถือว่าเป็นสิ่งที่มงคลอยู่แล้ว รวมถึงด้ายสายสิญจน์ จะถูกผูกมัดรวมกัน และจะผ่านพิธีกรรมในช่วงของพิธีการสืบชะตาและเจริญพุทธมนต์ในช่วงของวันมหาสงกรานต์ หรือเทศกาลปีใหม่เมืองของชาวล้านนา จากนั้นชาวบ้านที่ร่วมงานก็จะนำ ต๋าแหล๋ว ดังกล่าวกับไปยังบ้านตนเองเพื่อทำการติดไว้บริเวณหน้าบ้าน
สัมภาษณ์… พระครูใบฎีกาทศพล ญาณเมธี เจ้าอาวาสวัดโสมนัสตุ้มท่า ตำบลท่าจำปี อำเภอเมืองจังหวัดพะเยา