หนุ่มวัย 41 ปีปลูกผักไฮโดรฯสร้างรายได้เดือนละ 8 หมื่นบาท

แชร์ข่าวพะเยา

หนุ่มวัย 41 ปี ในพื้นที่หมู่ที่ 7 ตำบลแม่สุก  อำเภอแม่ใจ  จังหวัดพะเยา หันหลังให้กับการทำงานประจำ ปลูกผักไฮโดรโปรนิค ซึ่งเป็นผักสลัดกรีนโอ๊ค เรดโอ๊ค ทั้งพืชฤดูหนาวอื่นๆรวมทั้งผักคื่นฉ่าย ส่งขาย สร้างรายได้งาม โดยผลผลิต 70 เปอร์เซ็นต์ ส่งขายร้านโมเดลเทรดของห้าง และพ่อค้าแม่ค้า ผู้รักสุขภาพเดินทางมาหาซื้อต่อเนื่อง จนสามารถสร้างรายได้ให้ต่อเดือนมากกว่า 8 หมื่นบาท

           วันที่13ธันวาคม2564นายชินวัตร ตราไคร้ เกษตรกรหนุ่มวัย 41  ปี ในพื้นที่หมู่ที่ 7 ตำบลแม่สุก อำเภอแม่ใจ  จังหวัดพะเยา นำผู้สื่อข่าวเข้าดูแปลงปลูกผักไฮโดรโปรนิค ที่เขาปลุกไว้ทั้งผักสลัด กรีนโอ๊ค เรดโอ๊ค และอีกกว่า 4 ชนิด รวมทั้งผักคื่นฉ่าย ในพื้นที่ประมาณ 3 งาน หลังเขาหันหลังให้กับการทำงานประจำ เมื่อ 5 ปีที่ผ่านมา โดยการหันมาทำการปลูกผักสลัดหลากหลาย ทั้งกรีนโอ๊ค เรดโอ๊ค บัตเตอร์เฮด ครอส  เรดโครอล ฟิลเร่ย์ ผักคื่นฉ่าย นอกจากนั้นในช่วงฤดูหนาว ยังได้ปลูกพืชตามฤดูกาล เช่น ผักแคล เมล่อน ข้าวโพดฮอกไกโด ที่มีราคาสูง โดยจะใช้ระบบไฮโดรโปรนิค ที่ใช้ระบบน้ำวนเข้าทำการบริหารจัดการ จน สามารถทำให้ผักสลัด และผักอื่นๆที่ปลูกไว้โตได้อย่างรวดเร็วและสวยงาม รวมทั้งเป็นที่ต้องการของตลาด ซึ่งในแต่ละวันก็จะสามารถผลัดเปลี่ยนเก็บผลผลิตได้ทุกวัน และตลอดทั้งปี จนสามารถสร้างรายได้ให้เป็นอย่างดี

โดยนายชินวัตร ตราไคร้ เล่าว่า ก่อนหน้านี้ตนเองได้เรียนภาควิชาการเกษตรและจบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จากนั้นก็เข้าไปทำงานกับมูลนิธิชัยพัฒนา ที่จังหวัดพิษณุโลก ต่อมาได้ลาออกจากงานประจำและมาทำการเกษตรที่บ้านตนเองตนเอง โดยการปลูกพืชผักที่ใช้ระบบการปลูกพืชผักแบบไฮโดรโปรนิค และพบว่าประสบผลสำเร็จ โดยผลผลิตที่ตนเองปลูกไว้หลักๆก็จะมีผักสลัดทั้งกรีนโอ๊ค เรดโอ๊ค บัตเตอร์เฮด ครอส  เรดโครอล ฟิลเร่ย์ ผักคื่นฉ่าย นอกจากนั้นในช่วงฤดูหนาว ยังได้ปลูกพืชตามฤดูกาล เช่น ผักแคล เมล่อน ข้าวโพดฮอกไกโด ที่มีราคาสูง โดยจะใช้ระบบไฮโดรโปรนิคเข้ามาจัดการกับ ผลผลิต ซึ่งสามารถจำหน่ายได้เป็นอย่างดี โดยผลผลิตตนเอง 70  เปอร์เซ็นต์ได้ นำส่งจำหน่ายให้กับร้านโมเดลเทรด ของห้างสรรพสินค้าแมคโครและท็อปพลาซ่า ส่วนที่เหลือ 30  เปอร์เซ็นต์ก็จะส่งให้ร้านโรงแรมร้านอาหาร และพ่อค้าแม่ค้า รวมทั้งผู้รักสุขภาพเดินทางมารับซื้อ ซึ่งผลผลิตที่ออกจำหน่าย โดยเฉลี่ยต่อ 1 สัปดาห์ ผักสลัดก็จะอยู่ที 250  กิโลกรัม ผักคื่นฉ่ายอยู่ที่สัปดาห์ละ 50 กิโลกรัม ซึ่งหน่ายส่งในราคากิโลกรัมละ 80-90 บาท  ส่วนผักคื่นฉ่ายราคาขึ้นลงจะอยู่ที่ตลาด ซึ่งถือว่าสามารถสร้างรายได้ให้เป็นอย่างดียิ่ง โดยวิธีการปลูกนั้นตนเองจะใช้ระบบน้ำวน เพื่อให้ผักของตนเองนั้นโตอย่างรวดเร็ว กว่าการใช้ระบบอย่างอื่น ในส่วนของการดูแลรักษานั้นตนเองก็จะใช้ระบบชีวภาพทั้งหมดเข้ามาทำการผลิตผัก ไฮโดรโปรนิของตนเอง ซึ่งสามารถสร้างรายได้ให้เฉลี่ยต่อเดือนกว่า 8 หมื่นบาท


แชร์ข่าวพะเยา