กระทรวงอุดมศึกษาฯ(อว) สกสว.,หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่มหาวิทยาลัยศิลปากร, สมาคมเพื่อการพัฒนาศิลปะและหัตถศิลป์ไทย เทศบาลตำบลเชียงคำ ชาติติพันธ์ไทยลื้อเชียงคำ จัดกิจกรรม “ฟื้นใจเมือง” การพัฒนาย่านวัฒนธรรมชุมชนและการฟื้นฟูวัฒนธรรมประเพณีสร้างวัฒนธรรมใหม่ ส่งเสริมการท่องเที่ยว รวมทั้งกระตุ้นเศรษฐกิจในพื้นที่
การแสดงศิลปะวัฒนธรรมหลากหลาย ที่เป็นอัตลักษณ์ของชาวไทยลื้อ การขับร้องเพลงจากศิลปินแห่งชาติวินัย พันธุรักษ์ ขบวนแห่ครัวตานที่เป็นศิลปะวัฒนธรรมของชาวไทยลื้อ รวมทั้งกิจกรรมส่งเสริมย่านเศรษฐกิจสร้างสรรค์ กาดกองน้อยบ้านพระธาตุ ซอย 6 เป็นกิจกรรมส่วนหนึ่งของงาน “ฟื้นใจเมือง” การพัฒนาย่านวัฒนธรรมชุมชนการฟื้นฟูวัฒนธรรมประเพณีและสร้างวัฒนธรรมใหม่ เพื่อเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวและกระตุ้นเศรษฐกิจในพื้นที่ ที่ทางกระทรวงอุดมศึกษาฯ(อว) สกสว.,หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่มหาวิทยาลัยศิลปากร, สมาคมเพื่อการพัฒนาศิลปะและหัตถศิลป์ไทย เทศบาลตำบลเชียงคำ ชาติติพันธ์ไทยลื้อเชียงคำ ได้จัดขึ้นบริเวณข่วงวัฒนธรรมสวนสุขภาพ 100 ปีอำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา เพื่อเป็นการส่งเสริมวัฒนธรรมของชาวไทยลื้อในพื้นที่ 5 หมู่บ้านของอำเภอเชียงคำ ที่มีเอกลักษณ์ในการรักษาขนบธรรมเนียมประเพณีวัฒนธรรมที่เหนียวแน่น จนสามารถพัฒนานวัตกรรมตลอดจนถึงศิลปะหัตศิลป์ของชุมชนให้คงอยู่ และสามารถพัฒนาทุนที่จะพัฒนาไปสู่การเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมและสร้างเศรษฐกิจให้กับชุมชนได้
โดยกิจกรรมที่ได้จัดขึ้นประกอบด้วยการแสดงศิลปะวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์ของชาวไทยลื้อ การขับร้องเพลงโดยนักร้องศิลปินแห่งชาติวินัย พันธุรักษ์ ขบวนแห่ครัวตานที่แสดงออกถึงวัฒนธรรมของชาวไทยลื้อ รวมทั้งวัฒนธรรมทางอาหารที่นำมาแสดงย่านชุมชนเศรษฐกิจสร้างสรรค์ กาดกองน้อยบ้านพระธาตุซอย 6 ที่นำเอาวัฒนธรรมทางอาหารของชาวไทยลื้อมาจัดจำหน่าย
โดย ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม ระบุว่า โครงการดังกล่าวนั้นถือว่าเป็นงานวิจัยชิ้นหนึ่ง ที่ทำขึ้นเพื่อประชาชนทั่วไปที่มีความสนใจเรื่องศิลปะ อารยธรรม วัฒนธรรม ประวัติศาสตร์เดิมของตนเอง โดยเฉพาะคนไทยลื้อที่นี่ ถือเป็นตัวอย่างที่ดี ที่ฟื้นวัฒนธรรมขึ้นมา โดยบางครั้งสามารถจัดเป็นเทศกาล เช่นในวันนี้เราก็จะได้เห็นวัฒนธรรมในเรื่องการถวายครัวตาน ซึ่งถือเป็นความสัมพันธ์ที่แนบแน่นระหว่างชุมชน วัด กับทางมหาวิทยาลัยก็เช่นกัน ซึ่งเรามีนักวิจัยซึ่งส่วนใหญ่ก็เป็นชาวบ้านธรรมดา ช่วยกันคิดอะไรที่เป็นของเดิมของเราก็นำมาฟื้นฟู โดยนำวัฒนธรรมดั้งเดิมมาเป็นจุดขายและให้บริการรวมทั้งเชิญชวนให้คนมาชม มาหยุดพัก มาท่องเที่ยว ก็ถือเป็นโฉมหน้าของการท่องเที่ยวยุคใหม่ ก็คือท่องเที่ยวไม่ได้เป็นเฉพาะธุรกิจท่องเที่ยว แต่มีชุมชนขับเคลื่อนการท่องเที่ยว ซึ่งประโยชน์จะกระจายกว้างขวางมาก ซึ่งตรงนี้จะรักษาวัฒนธรรมเดิมและต่อยอดลงไปให้เป็นที่นิยมยกย่อง ในส่วนของบทบาทของมหาวิทยาลัยมหาวิทยาลัยต่างๆควรจะส่งเสริมให้มีการวิจัยลักษณะเช่นนี้โดยอาศัยความรู้จากชาวบ้านหรือชุมชนจากนั้นก็แปลเป็นทฤษฎีและนำมาปฏิบัติในชุมชนต่อไป
สัมภาษณ์… ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม
ขณะที่ ดร.กิตติ สัจจาวัฒนา ผู้อำนวยการหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ กล่าวว่า งานดังกล่าวได้เกิดขึ้นเนื่องจากเราได้ใช้งานวิจัยนวัตกรรมเข้ามาส่งเสริมพี่น้องให้มีส่วนร่วมในการสืบค้นคุณค่าในเรื่องประวัติศาสตร์ ชาติติพันธ์ในเรื่องราวของเขาเอง ที่นี่จะเป็นเรื่องราวประวัติศาสตร์ชาติติพันธ์ไทยลื้อ แล้วเอามานำเสนอ สร้างมูลค่าใหม่โดยพี่น้องรวมตัวกันเป็นประชาคมวัฒนธรรม เราเรียกว่าย่านวัฒนธรรม ซึ่งจะมีผลิตภัณฑ์การบริการด้านวัฒนธรรม ซึ่งเป็นการสร้างคุณค่าใหม่ และก็จะกลับไปอนุรักษ์ ทำให้เกิดความเข้มแข็งด้านเศรษฐกิจทางพื้นที่เกิดขึ้น ในส่วนตรงนี้ก็เป็นที่ชัดเจนในเรื่องของเศรษฐกิจก็จะเกิดขึ้นกับพี่น้องในพื้นที่ ซึ่งเราถือว่าเป็นผู้ประกอบการทางวัฒนธรรม ดังนั้นเศรษฐกิจรายได้ก็จะหมุนเวียนอยู่ในชุมชน พอเกิดความเข้มแข็งพลังของการดึงดูดนักท่องเที่ยวก็จะมีขึ้นมา นักท่องเที่ยวเข้ามาก็จะเกิดการบริโภคเกิดความต้องการสินค้าที่เป็นสินค้าวัฒนธรรมและจะทำให้พี่น้องมีเศรษฐกิจที่ดีขึ้น
สัมภาษณ์…ดร.กิตติ สัจจาวัฒนา ผอ.หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่