แหล่งเรียนรู้สมุนไพรท้องถิ่นเพื่อสุขภาพ

แชร์ข่าวพะเยา

    มหาวิทยาลัยพะเยา โดยคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา เปิดแหล่งเรียนรู้สมุนไพรท้องถิ่นเพื่อสุขภาพ หลังร่วมมือกับภาคีเครือข่าย ชุมชนในพื้นที่ตำบลผาช้างน้อย อำเภอปงจังหวัดพะเยา พัฒนาสมุนไพรที่หลากหลายเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อดูแลสุขภาพของชุมชนและบุคคลทั่วไปประสบผลสำเร็จ และเตรียมผลักดันที่จะเป็นสินค้าสร้างรายได้ให้กับชุมชน

ผลิตภัณฑ์สมุนไพรหลากหลาย โดยเฉพาะชาเจียวกู่หลาน ซึ่งถือเป็นผลิตตภัณฑ์ที่โดดเด่นของคนในพื้นที่ตำบลผาช้างน้อย อำเภอปง จังหวัดพะเยา ถูกนำมาแสดงและให้มีการส่งเสริมชุมชนได้ร่วมกันผลิตขึ้น เพื่อออกจำหน่าย หลังจากที่ทางมหาวิทยาลัยพะเยา โดยคณะสาธารณสุขศาสตร์ ได้มีการส่งเสริม ให้เป็นแหล่งเรียนรู้สมุนไพรท้องถิ่นเพื่อสุขภาพ ซึ่งเป็นโครงการภายใต้โครงการ 1 ชุมชน 1 นวัตกรรม ที่คณะสาธารณสุขศาสตร์ ร่วมกับภาคีเครือข่ายได้ร่วมกันดำเนินงาน ณ โครงการหลวงปังค่า ตำบลผาช้างน้อย อำเภอปง จังหวัดพะเยา เพื่อที่จะก่อให้เกิดการเรียนรู้ร่วมกับชุมชน และการพัฒนาคุณภาพชีวิต สามารถบูรณาการองค์ความรู้ เรื่องสมุนไพร แพทย์แผนตะวันออก (ไทย-จีน) ปราชญ์ชาวบ้าน เกษตรกรรม การจัดการสิ่งแวดล้อม การใช้สารเคมีเกษตรอย่างปลอดภัย พัฒนาสุขภาวะนำไปสู่การมีสมรรถนะและมีคุณภาพชีวิตที่ดี เกิดการพัฒนาด้านสุขภาพ เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม

โดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สมคิด จู่ว่า คณบดีคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา ระบุว่า วันนี้ทางคณะสาธารณสุขศาสตร์มหาวิทยาลัยพะเยา ได้ลงพื้นที่ของตำบลผาช้างน้อย ซึ่งในพื้นที่ตรงนี้เราได้รับมอบหมายจากทางมหาวิทยาลัยพะเยา ซึ่งทางมหาวิทยาลัยพะเยา ได้มีนโยบายในการที่จะส่งเสริมให้มีการดำเนินกิจกรรม 1 ชุมชน 1 นวัตกรรม ซึ่งพื้นที่ตรงนี้เป็นพื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์ ซึ่งในเริ่มต้นเรามาในพื้นที่ตรงนี้และมีการสำรวจมาเป็นระยะเวลา 3 ปีมาแล้ว ซึ่งเราอยากจะดูว่าในพื้นที่ตรงนี้สุขสุขภาพวะของประชาชนเป็นอย่างไรบ้าง ซึ่งเราพบว่าคนในพื้นที่ตรงนี้มีสุขภาวะที่ดีมาก เราก็ไม่ทราบว่าที่สุขภาวะเขาดีเกิดจากอะไร เราก็ได้มีการสำรวจข้อมูลทั่วไป พบว่าในพื้นที่ตรงนี้มีความอุดมสมบูรณ์ในเรื่องของสมุนไพร แต่ประชาชนอาจจะไม่เข้าใจในเรื่องของการนำสมุนไพรเอามาใช้ประโยชน์ ซึ่งทางเรามีองค์ความรู้ทางด้านศาสตร์สมุนไพรซึ่งเรามีหลักสูตรทั้งแพทย์แผนไทยและจีน มีอาจารย์ที่เชี่ยวชาญและพื้นที่มีความอุดมสมบูรณ์ด้านสมุนไพร ซึ่งเป็นสมุนไพรที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ ซึ่งก็ได้มีการประสานกับเครือข่ายในพื้นที่ เพื่อต้องการที่จะพัฒนาพื้นที่จึงได้ใช้พื้นที่โครงการหลวงดังกล่าว เป็นแหล่งเรียนรู้สมุนไพร รวมทั้งเพิ่มพูนทักษะเพื่อให้ชาวบ้านให้มีชีวิตที่ดี โดยได้รับการสนับสนุนจากมหาวิทยาลัยพะเยา โดยท่านอธิการบดีของมหาวิทยาลัย ซึ่งมอบนโยบายให้ทางเราลงพื้นที่จนถึงวันนี้เรามีความมั่นใจว่าภาคีเครือข่ายในชุมชนของเราเข้มแข็งและสามารถที่จะดูแลสุขภาพของประชาชนในชุมชนได้เอง จนทำให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีได้ จึงได้มีการสร้างศูนย์เรียนรู้สมุนไพร ขึ้นที่นี่เพื่อพัฒนาต่อยอดให้มีองค์ความรู้ซึ่งสมุนไพรที่มีความโดดเด่นของพื้นที่ตรงนี้คือชาเจียวกู่หลาน ซึ่งเป็นชาสมุนไพรที่เป็นที่รู้จัก ซึ่งที่นี่เป็นที่เดียวที่ไม่มีสารเคมี เพราะขึ้นเองโดยธรรมชาติ ซึ่งเราได้มีการส่งเสริมจนสามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์ประสบผลสำเร็จในระยะหนึ่ง

    สัมภาษณ์…ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สมคิด จู่ว่า คณบดีคณะสาธารณสุขศาสตร์มหาวิทยาลัยพะเยา

     ขณะที่รองศาสตราจารย์ ดร.สุภาพร พงศบางโพธิ์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยพะเยา ระบุว่า จากที่ทุกท่านทราบว่าทางมหาวิลัยพะเยา มีปฏิภาณแน่วแน่ในเรื่องปัญญาเพื่อความเข้มแข็งของชุมชน เรามองว่าในเรื่องของความรู้ไม่ได้อยู่เพียงเฉพาะในสถาบันอุดมศึกษาอย่างเดียว ความรู้จากปราชย์ชาวบ้านหรือภูมิปัญญาท้องถิ่น ถือว่าเป็นสิ่งสำคัญมาก ซึ่งเรามองเห็นว่าศักยภาพของชุมชนหรือความรู้ของชุมชน มีมาแต่เนิ่นนานเยอะแยะมาก และสิ่งสำคัญที่เรามองว่าจะต้องร่วมกันคิดทำและส่งเสริมการให้ชุมชนมีอาชีพที่ดี นั่นคือการศึกษา ณ.ขณะนี้ทางมหาวิทยาลัยพะเยาได้ส่งเสริมการให้โอกาสการกระจายโอกาส เรามองว่าชีวิตที่จะสมบูรณ์เพิ่มมากขึ้นนั่นคือสุขภาพวะที่ดี เพราะฉะนั้นสุขภาพจึงมีความสำคัญยิ่ง เราจึงได้มอบให้ทุกคณะเข้าสร้างการเรียนรู้ให้ชุมชน ซึ่งวันนี้คณะสาธารณสุขศาสตร์ก็ได้นำนโยบายนี้ ลงไปทำ ซึ่งในเรื่องนี้ของเราที่เราเน้นตั้งแต่แรกคือหนึ่ง 1 คณะ 1 ชุมชนนวัตกรรมจึงเกิดขึ้น

    สัมภาณ์…รองศาสตราจารย์ ดร.สุภาพร พงศบางโพธิ์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยพะเยา


แชร์ข่าวพะเยา