ม.พะเยา ประกาศรางวัลการประกวด พื้นที่การเรียนรู้ Learning Space 2023

แชร์ข่าวพะเยา

       การสร้างพื้นที่การเรียนรู้ Learning Space 2023 เป็นหนึ่งในเป้าหมายของมหาวิทยาลัย ที่จะช่วยสร้างให้เกิดการเรียนรู้แก่คนทุกระดับ ทั้งบุคลากรของมหาวิทยาลัย นิสิต นักเรียน รวมถึงประชาชน ในการใช้พื้นที่การเรียนรู้ ในการพัฒนาความรู้ พัฒนาทักษะ ให้สามารถนำความรู้หรือทักษะที่ได้นั้นไปประยุกต์ใช้เพื่อยกระดับการศึกษา การสร้างรายได้ การส่งเสริมสุขภาวะที่ดี และบรรเทาปัญหาความเดือดร้อนของชุมชนและสังคมที่เกิดขึ้น เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น สังคมมีความเข้มแข็ง มั่นคง หลุดพ้นจากความแตกต่างและเหลื่อมล้ำ เกิดสังคมแห่งความสุข

ในครั้งนี้ มีพื้นที่การเรียนรู้ (Learning Space) ให้ความสนใจและเข้าร่วมการประกวดรางวัลดังกล่าวจำนวน 15 พื้นที่การเรียนรู้ จาก 9 หน่วยงาน เป็นพื้นที่การเรียนรู้ในมหาวิทยาลัย 4 พื้นที่ และพื้นที่ภายนอกมหาวิทยาลัย 11 พื้นที่ รางวัลสนับสนุนพื้นที่การเรียนรู้ดังกล่าว จะพิจารณาจากผลการดำเนินงานที่โดดเด่น ความสามารถในการบริหารจัดการ ทำให้เกิดผลกระทบในการเปลี่ยนแปลงหรือการพัฒนาในด้านต่าง ๆ โดยจะใช้เกณฑ์การตัดสินที่แบ่งออกเป็น 2 ส่วนหลัก ๆ คือรูปแบบการบริหารจัดการ Learning space และ จุดเด่น และผลกระทบ (Impact) ของ Learning space

        ผลการประกวดรางวัลจำนวน 15 พื้นที่ มีรางวัล 4 ประเภท ดังนี้

        รางวัลระดับ Platinum จำนวน 1 รางวัล

1.ชุมชนกาดหล่ายต้า : พื้นที่ดำเนินการ กาดหล่ายต้า ชุมชนแม่ต๋ำ อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา โดยคณะบริหารธุรกิจและนิเทศศาสตร์

        รางวัลระดับ Gold จำนวน 3 รางวัล

1.ศูนย์พัฒนาทักษะทางวิชาชีพวิศวกรรมเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต : พื้นที่ดำเนินการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ โดย คณะวิศวกรรมศาสตร์

2.สวนซะป๊ะ : พื้นที่ดำเนินการ สวนซะป๊ะ ต.แม่กา อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา โดย คณะเกษตรศาสตร์และทรัพยากรธรรมชาติ

3.คลินิกกฎหมายสัญชาติ : พื้นที่ดำเนินการ คณะนิติศาสตร์ โดย คณะนิติศาสตร์

        รางวัลระดับ Silver จำนวน 6 รางวัล

1.ระบบพี่เลี้ยงครูภาษาอังกฤษ (The Mentoring System of English Teachers) : พื้นที่ดำเนินการ โรงเรียนบ้านบ่อเบี้ย ตำบลบ้านมาง อำเภอเชียงม่วน จังหวัดพะเยา โดยคณะศิลปะศาสตร์

2.กลุ่มผลิตภัณฑ์ผ้าพิมพ์รักษ์โลก : พื้นที่ดำเนินการ ตำบลพระธาตุขิงแกง อำเภอจุน จังหวัดพะเยา โดยคณะคณะรัฐศาสตร์และสังคมศาสตร์

3.ศูนย์การเรียนรู้การพัฒนาศักยภาพวิสาหกิจชุมชนภายใต้แนวคิด BCG Model : พื้นที่ดำเนินการ บ้านโป่งเกลือ ตำบลแม่ปืม อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา โดยคณะวิศวกรรมศาสตร์

4.ศูนย์การเรียนรู้พัฒนาต้นแบบผลิตภัณฑ์นวัตกรรมอาหาร : พื้นที่ดำเนินการ สถาบันนวัตกรรมและถ่ายทอดเทคโนโลยี โดยสถาบันนวัตกรรมและถ่ายทอดเทคโนโลยี

5.กลุ่มวิสาหกิจชุมชนแปรรูปผ้าปักชนเผ่าและผ้าเขียนเทียน : พื้นที่ดำเนินการ โรงเรียนราชานุเคราะห์ ตำบลผาช้างน้อย อำเภอปง จังหวัดพะเยา โดยคณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

6.พื้นที่การเรียนรู้การเกษตร เพื่ออาหารกลางวันโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนเบ็ตตี้ดูเมน : พื้นที่ดำเนินการ โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนเบ็ตตี้ดูเมน ตำบลผาช้างน้อย อำเภอปง จังหวัดพะเยา โดยคณะเกษตรศาสตร์และทรัพยากรธรรมชาติ

          รางวัลระดับ Bronze จำนวน 5 รางวัล

1.วิทยาลัยฮอมผญา : พื้นที่ดำเนินการวัดต้ำม่อน ตำบลบ้านต้ำ อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา โดยคณะพยาบาลศาสตร์

2.ศูนย์คุ้มครองสิทธิผู้บริโภคจังหวัดพะเยา คลินิกกฎหมาย : พื้นที่ดำเนินการ ตำบลสันป่าม่วง อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา โดยคณะนิติศาสตร์

3.กลุ่มอนุรักษ์ผลิตลิ้นจี่คุณภาพห้วยป่ากล้วย : พื้นที่ดำเนินการตำบลเจริญราษฎร์ และตำบลศรีถ้อย อำเภอแม่ใจ จังหวัดพะเยา โดยคณะเกษตรศาสตร์และทรัพยากรธรรมชาติ

4.ธรรมนูญนิสิต : พื้นที่ดำเนินการคณะรัฐศาสตร์และสังคมศาสตร์ โดยคณะรัฐศาสตร์และสังคมศาสตร์

5.ศูนย์การเรียนรู้การผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวบ้านทุ่งหลวง บ้านทุ่งหลวง : พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบุญเกิด อำเภอดอกคำใต้ จังหวัดพะเยา โดยคณะวิศวกรรมศาสตร์

    โดยผลการพิจารณารางวัล ได้รับเกียรติจากคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ดังนี้

1.ศาสตราจารย์ ดร.เสมอ ถาน้อย รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม

2.รองศาสตราจารย์ ดร.พีรเดช ทองอำไพ ผู้อำนวยการสถาบันคลังสมองของชาติ

3.คุณเบญจมาศ ตีระมาศวณิช นักวิชาการอิสระ

4.คุณอัษฎากรณ์ ฉัตรานันท์ เลขานุการนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดพะเยา

5.ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.น้ำเงิน จันทรมณี ผู้อำนวยการสถาบันนวัตกรรมการเรียนรู้

6.รองศาสตราจารย์ ดร.ผณินทรา ธีรานนท์ ผู้ช่วยอธิการบดี

7.นางสาวอัญชลี เทียมคีรี ผู้อำนวยการกองบริหารงานวิจัย


แชร์ข่าวพะเยา